Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 17, No. 4 (2011) open journal systems 


ปัจจัยที่พยากรณ์พฤติกรรมการรังแกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลจังหวัดปัตตานี
Factors Predicting Bullying Behaviors of Pratomsuksa Six Students in Pattani Municipal Schools


การีมะห์ และหีม, โรงเรียนเทศบาล 1 (เอ็งเสียงสามัคคี)
ดวงมณี จงรักษ์, ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Kareemah Laeheem, Thesabal 1 School (Engseangsamakkee)
Doungmani Chongruksa, Department of Psychology and Guidance, Faculty of Education,Prince of Songkhla U


Abstract
This research aimed to study the factors predicting bullying behaviors of Pratomsuksa six students in Pattani municipal schools. The samples in this study consisted of 260 Pratomsuksa six students in Pattani municipal schools in the academic year 2007. The samples were selected by using simple random sampling technique: lottery method. The research instrument for data collection was a questionnaire. Data was analyzed to find correlation coefficients, multiple correlation coefficients and to construct a best fit regression model. The research findings were as 1) The Pratomsuksa six students in Pattani municipal schools had physical bullying behaviors in the low level and verbal bullying behaviors in the moderate level. Verbal bullying behaviors were statistically significant higher than physical bullying behaviors at 0.001 level. 2. Watching television violence (X2), witnessing parental violence (X1), and frustration (X3) were statistically significant predicting bullying behaviors of participants at 0.001 level. The efficiency of prediction was 63.1 percent. The regression equation of raw scores and standardized scores were thus: Y ′ = 0.715*X2 + 0.652*X1 + 0.196*X3 - 0.415 y Z′ = 0.450*Z2 + 0.316*Z1 + 0.139*Z3

Keywords: bullying behaviour, multiple correlation coefficients, municipal schools, pratomsuksa six Students

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่พยากรณ์พฤติกรรมการรังแกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลจังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัด เทศบาลจังหวัดปัตตานี ปีการศึกษา 2550 จำนวน 260 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลาก เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สัมประสิทธิ์ สหพันธ์พหุคูณ และสร้างสมการแบบจำลองการถดถอยที่เหมาะสมที่สุด ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1). นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดปัตตานีมีพฤติกรรมการรังแกด้านร่างกายอยู่ในระดับน้อย และด้านวาจาอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีพฤติกรรมการรังแกด้านวาจาสูงกว่าด้านร่างกายอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.001 2). การรับชมรายการโทรทัศน์ที่ใช้ความรุนแรง (X2) การเห็นพ่อแม่แสดงพฤติกรรมความรุนแรง (X1) และภาวะคับข้องใจ (X3) สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการรังแกของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ประสิทธิภาพของการพยากรณ์มีค่าร้อยละ 63.1 โดยมีสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Y ′ = 0.715*X2 + 0.652*X1 + 0.196*X3 - 0.415 y Z′ = 0.450*Z2 + 0.316*Z1 + 0.139*Z3

คำสำคัญ: นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, พฤติกรรมพฤติกรรมการรังแก, โรงเรียนเทศบาล, สัมประสิทธิ์ สหพันธ์พหุคูณ


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548