Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 17, No. 4 (2011) open journal systems 


ยุทธศาสตร์การรักษาอุดมการณ์ของกำลังพลในกองทัพเรือไทย
Strategies to Maintain Ideology of Personnel of the Royal Thai Navy


สิริกร ฉัตรภูติ, คณะรัฐประศาสนศาสตร์,มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
วัชรินทร์ อินทพรหม, คณะรัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
สมัย ใจอินทร์, โครงการผนึกกำลังการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Sirikron Chatrabhuti, Faculty of Public Adminstration, Phranakhon Rajabhat University
Watcharin Intaphrom, Faculty of Public Adminstration, Phranakhon Rajabhat University
Samai Jai-in, Project office for Consortium on Doctor of Philosophy Programs of Rajabhat Unive


Abstract
The objectives of this research were 1) to study the ideology of the personnel of the Royal Thai Navy (RTN) and 2) to build and audit the strategies to maintain their ideology. This research used mixed methods in order to present their strategies to maintain their ideology. In addition, their ideology consisted of thought, belief, faith and hope. Moreover their thought comprised four aspects including 1) work performance, 2) morale, 3) morale relating to military leaders and 4) cultivation and continuous ideology transfer. In the aspect of belief, it indicated that their working aims associated with The Royal Thai Navy’s aims of preserving the institutes of nation, religion and king. In the aspect of faith, it disclosed that they were proud of serving the nation. In the aspect of hope, it showed that they became the soldiers at The Royal Thai Navy for the purposes of preserving their duties on protecting the country. In conclusion, there were four strategies approved by the scholars and experts which included 1) soldier development strategy, 2) work and occupation motivation building strategy, 3) economic and social development strategy and 4) ideology cultivation and motivation strategy.

Keywords: ideology, maintain ideology, the Royal Thai Navy

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาอุดมการณ์ของกำลังพลในกองทัพเรือไทย 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบ ยุทธศาสตร์การรักษาอุดมการณ์ของกำลังพลในกองทัพเรือไทย การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เพื่อนำเสนอเป็น ยุทธศาสตร์การรักษาอุดมการณ์ของกำลังพลในกองทัพเรือไทย ในการศึกษาครั้งนี้ อุดมการณ์ประกอบด้วย ความ คิด ความเชื่อ ความศรัทธา และความหวัง ด้านความคิดพบว่า เกี่ยวข้องกับ 4 ประเด็นคือ 1) การปฏิบัติงาน 2) ขวัญและกำลังใจ (3) ขวัญและกำลังใจเกี่ยวข้องกับผู้นำทางทหาร 4) การปลูกฝังและถ่ายทอดด้านอุดมการณ์อย่าง ต่อเนื่อง ด้านความเชื่อพบว่า เป้าหมายในการทำงานของกำลังพลในกองทัพเรือไทยมีความสอดคล้อง กับเป้าหมายของกองทัพคือเพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ด้านความศรัทธาพบว่า มีความภาคภูมิใจในการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อรับใช้ประเทศชาติ ด้านความหวังพบว่า การเข้ามาเป็นทหารของ กำลังพลในกองทัพเรือไทยนั้น ล้วนมีความปรารถนาที่จะได้ทำหน้าที่ทหาร และต้องการให้ประเทศชาติดำรงอยู่ สำหรับการศึกษาครั้งนี้ ยุทธศาสตร์การรักษาอุดมการณ์ของกำลังพลในกองทัพเรือ ที่ผ่านการตรวจสอบจากนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว มี 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้นำทางทหาร 2) ยุทธศาสตร์การสร้างแรง จูงใจในงานและอาชีพ 3)ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม และ 4) ยุทธศาสตร์การปลูกฝังและกระตุ้น อุดมการณ์

คำสำคัญ: การรักษาอุดมการณ์, กองทัพเรือไทย, อุดมการณ์


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548