Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 8, No. 3 (2002) open journal systems 


ผลของการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักต่อการส่งเสริมความคิด วิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาครู

อัจฉรา ธรรมาภรณ์, ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ปราณี ทองคำ, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ลักษณะกลุ่มและกิริยาร่วม ที่มีต่อความคิด วิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 150 คน ประกอบด้วยนักศึกษา 3 กลุ่มคือ กลุ่มแนววิทยาศาสตร์ กลุ่มแนวศิลปศาสตร์ และกลุ่มผสมกลุ่มละ 50 คน ในแต่ละกลุ่ม มีการสุ่มนักศึกษาจำนวน 25 คน เข้ารับการสอนแบบปกติ มีการวัดความคิดวิจารณญาณก่อนและหลังการทดลองและวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมและความแปรปรวนแบบเฟคตอเรียล ผลการศึกษาพบว่า 1) การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าวิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) ลักษณะกลุ่มต่างกันส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน 3) มีกริยาร่วมระหว่างวิธีสอนและลักษณะกลุ่มต่อความคิดวิจารณญาณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการทดสอบย่อยแสดงว่าการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักส่งผลต่อความคิดวิจารณญาณสูงกว่าวิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เฉพาะกลุ่มวิทยาศาสตร์เท่านั้น

คำสำคัญ : การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก, ความคิดวิจารณญาณ, นักศึกษาครู

Abstract
This research aimed to study the effects of problem-based learning (PBL), group characteristics, and their interaction effects on critical thinking and academic achievement of teacher students. The sample consisted of 150 students from the Faculty of Education, Prince of Songkla University. Students were classified into 3 groups : science-based, arts-based, and combined groups; each group had 50 students. In each group 25 students were randomly assigned to receive the PBL teaching method, and the other 25 to receive a regular teaching method. Critical thinking tests were administered before and after the experiment while an academic achievement test was carried out after the experiment. The factorial ANOVA and ANCOVA were employed in data analysis. It was found that 1) the PBL had a higher effect on academic achievement than the regular teaching method, significantly at the .05 level, 2) different group characteristics had no significant effect on academic achievement, and 3) teaching methods and group characteristics had interaction effects on critical thinking, significantly at the 05 level. Simple main effect tests indicated that only with the science-based students did the PBL have a higher effect on critical thinking than the regular teaching method, significantly at the .05 level.

Keywords : critical thinking, problem-based learning, teacher students


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548