Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 16, No. 6 (2010) open journal systems 


รูปแบบการพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสารทวิภาษาระดับต้นของนักเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Model for the Development of Bilingual Communicative Competence of Students in the Three Southern Border Provinces of Thailand


ปรารถนา กาลเนาวกุล
มณีรัตน์ โชติกกำธร
อาริน สะอีดี
รุ้งศิรินทร์ จันทร์หอม
แวมายิ ปารามัล
สนธยา อนรรฆศิริ

Prathana Kannaovakun
Maneerat Chotikakamthorn
Arin Sa-idi
Rungsirin Chanhom
Waemaji Paramal
Sontaya Anakasiri


Abstract
The objective of this research is to develop a suitable instructional model of bilingual communication (Thai language - Pattani Malay dialect) and a bilingual textbook for beginners in the primary schools in the three southernmost provinces. The data came from a brainstorming session and a survey of selected samples who were teachers, school administrators from 99 schools and supervisors in the Area Operation Center of Pattani, Yala and Narathiwat. The number of subjects studied was 377. From the research results, the number of people agreeing and disagreeing with teaching Malay dialect in schools was almost equal, with that for the agreeing group slightly higher. As for the model of bilingual instruction with Thai language - Malay dialect, most samples suggested that the students either competent or incompetent in Malay communication should be together in the same class and the teacher should use both languages for instruction. Starting from the first educational level (Grade 1, 2, and 3), Malay dialect instruction can be offered twice a week for the period of three years as an elective or additional course for those unable to communicate in Malay. The contents consist of Malay for communication with an emphasis on speaking. The mode of instruction and materials should be bilingual together with activities initiating language use in various situations. Moreover, the readiness of instructional media and financial supports of personnel, salary, teacher training, as well as curriculum development and lesson planning were required.

Keywords: bilingual education, Malay dialect, three southern border provinces

บทคัดย่อ
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการเรียนการสอนทวิภาษา (ภาษาไทย - ภาษามลายูถิ่น) และ ลักษณะบทเรียนภาษามลายูถิ่นระดับเบื้องต้น สำหรับนักเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้การเก็บข้อมูล จากการประชุมระดมความคิดเห็นและการสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ครู จากโรงเรียน 99 แห่ง และศึกษานิเทศก์ ที่อยู่ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม จำนวน 377 คน ผลการวิจัยพบว่ามีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการสอนภาษามลายูถิ่นในโรงเรียนของ สามจังหวัดภาคใต้ในจำนวนที่ใกล้เคียงกันโดยมีผู้เห็นด้วยมากกว่าเล็กน้อย ส่วนรูปแบบการสอนภาษาไทย- ภาษามลายูถิ่นนั้น ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ในระดับอนุบาลให้นักเรียนที่สามารถสื่อสารและไม่สามารถสื่อสาร ด้วยภาษามลายูถิ่นได้เรียนด้วยกัน ครูใช้ทั้งภาษาไทยและภาษามลายูถิ่นในการสอนควบคู่กันไป เมื่อขึ้นช่วงชั้น ที่ 1 การเรียนภาษามลายูถิ่นควรเป็นรายวิชาเลือกหรือเพิ่มเติมสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 3 ปี และเปิด สอนให้กับผู้เรียนที่ไม่สามารถพูดภาษามลายูถิ่นได้เรียน โดยมีลักษณะเนื้อหาการสอนภาษามลายูเพื่อการสื่อสาร เน้นการฝึกพูด และผู้เรียนสามารถนำไปใช้สื่อสารในสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน มีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียน มีโอกาสใช้ภาษาตามสถานการณ์ต่างๆ ตำราควรมีทั้งสองภาษาควบคู่กันไป นอกจากนี้ควรมีความพร้อมด้าน สื่อการสอนและปัจจัยสนับสนุนด้านอัตรากำลัง เงินเดือน การพัฒนาอบรมผู้สอน การจัดทำหลักสูตรและแผน การสอน

คำสำคัญ: การศึกษาทวิภาษา, ภาษามลายูถิ่น, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548