Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 14, No. 4 (2008) open journal systems 


ลักษณะบุคลิกภาพที่พยากรณ์พฤติกรรมต่อต้านการปฏิบัติงาน
Personality Traits Predicting Counterproductive Work Behavior


ชูชัย สมิทธิไกร, ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Chuchai Smithikrai, Department of Psychology, Faculty of Humanities, Chiang Mai University,


Abstract
The purposes of this study were to investigate relationships between personality traits and counterproductive work behavior, and to examine the predictive power of each facet of personality traits on counterproductive work behavior. The sample consisted of 1,933 persons working in government offices and private companies in the upper north region of Thailand. The research instruments were a counterproductive work behavior scale, the NEO Five-Factor Inventory (Form S), and a demographic data sheet. The research found that all five facets of personality traits were significantly related to counterproductive work behavior. That is, agreeableness, conscientiousness, openness to experience, and extraversion were negatively related to counterproductive work behavior, while neuroticism positively related to counterproductive work behavior. The three facets of personality traits that jointly predicted counterproductive work behavior were agreeableness, conscientiousness, and openness to experience. That is, persons with high levels of agreeableness, conscientiousness, and openness to experience showed a lower level of counterproductive work behavior than those with low levels of these traits.

Keywords: counterproductive work behavior, personality traits

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะบุคลิกภาพกับพฤติกรรมต่อต้าน การปฏิบัติงาน และเพื่อศึกษาอำนาจการพยากรณ์ของลักษณะบุคลิกภาพที่มีต่อพฤติกรรมต่อต้านการปฏิบัติงานของ บุคลากรกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ และพนักงานบริษัทเอกชนในเขต จังหวัดภาคเหนือตอนบน จำนวน 1,933 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดพฤติกรรมต่อต้านการปฏิบัติงาน แบบทดสอบบุคลิกภาพ NEO Five-Factor Inventory (Form S) และ แบบสอบถามลักษณะทางประชากร ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะบุคลิกภาพทั้งห้าด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมต่อต้านการปฏิบัติงานของบุคคลอย่างมี นัยสำคัญ กล่าวคือลักษณะบุคลิกภาพด้านการเห็นตามผู้อื่น ด้านความสำนึกผิดชอบ ด้านการเปิดรับประสบการณ์ และด้านการเปิดเผยตนเอง มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมต่อต้านการทำงาน ในขณะที่บุคลิกภาพด้านความหวั่น ไหวทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมต่อต้านการทำงาน และลักษณะบุคลิกภาพที่สามารถร่วมกัน พยากรณ์พฤติกรรมต่อต้านการปฏิบัติงานมีจำนวนทั้งหมด 3 ด้านคือ ด้านการเห็นตามผู้อื่น ด้านความสำนึกผิดชอบ และด้านการเปิดรับประสบการณ์ กล่าวคือ ผู้ที่มีลักษณะบุคลิกภาพด้านการเห็นตามผู้อื่นสูง มีความสำนึกผิดชอบสูง และมีการเปิดรั บประสบการณ์สูง เป็นผู้ที่ มี พฤติกรรมต่อต้านการปฏิบัติงานอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าผู้ที่มีลักษณะ บุคลิกภาพทั้งสามด้านดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ

คำสำคัญ: พฤติกรรมต่อต้านการปฏิบัติงาน, ลักษณะบุคลิกภาพ


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548