Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 13, No. 2 (2007) open journal systems 


กลยุทธ์การจัดการภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า
Strategy of Country-of-Origin Images Management


สมพล วันต๊ะเมล์
Somphol Vantamay, ภาควิชาศิลปนิเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


Abstract
This article aimed to present strategy of country-of-origin images management in 4 aspects : 1) Product Strategy, in case of a positive image, manufacturers should declare the country-of-origin name in the made-in label of their products. In case of a negative image, they shouldn’t mention the country-of-origin name. Besides, they should avoid using the brand name that consumer can associate with the country-of-origin name. 2) Price Strategy, in case of a positive image, manufacturers can implement strategy of skimming price. In case of a negative image, they should implement a strategy of penetrating price so that it will attract price-conscious consumers. 3) Place Strategy, in case of a positive image, manufacturers can implement a strategy of selective distribution. In case of a negative image, they should implement a strategy of extensive distribution by establishing supply chain partners and selecting the positive-images distribution channels. 4) Promotion Strategy, in case of a positive image, manufacturers should emphasize the country-of-origin name in marketing communications tools. In case of a negative image, they should emphasize brand name and avoid presenting the country-of-origin name in order to prevent the association with country-of-origin name.

Keywords: competitive advantages, consumer’s products evaluation, country-of-origin images, international consumer behavior, international marketing, strategy of international marketing management

บทคัดย่อ
บทความนี้เสนอกลยุทธ์การจัดการภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด 4 ด้านคือ 1) กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ หากสินค้านั้นมีภาพลักษณ์เชิงบวก ผู้ผลิตควรจะระบุชื่อประเทศแหล่งกำเนิดบนฉลากของตราสินค้า แต่หากมีภาพลักษณ์เชิงลบ ผู้ผลิตไม่ควรที่จะระบุชื่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังควรปรับชื่อตราสินค้า มิให้ผู้บริโภคเกิดการเชื่อมโยงกับประเทศแหล่งกำเนิดเดิม 2) กลยุทธ์ด้านราคา หากสินค้านั้นมีภาพลักษณ์เชิงบวก ผู้ผลิตสามารถใช้กลยุทธ์ราคาสูงได้ แต่หากมีภาพลักษณ์เชิงลบ ผู้ผลิตควรใช้กลยุทธ์ราคาต่ำเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่ตระหนักถึงความสำคัญของราคามากกว่าประเทศแหล่งกำเนิดได้ 3) กลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่าย หากสินค้านั้นมีภาพลักษณ์เชิงบวก ผู้ผลิตสามารถใช้กลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบเลือกสรรได้ โดยอาจจะตั้งร้านจัดจำหน่ายตราสินค้านี้ขึ้นโดยเฉพาะ แต่หากสินค้านั้นมีภาพลักษณ์เชิงลบ ผู้ผลิตควรใช้กลยุทธ์การจัดจำหน่ายแบบกว้างขวาง เพื่อสร้างพันธมิตรทางการค้าในห่วงโซ่อุปทาน โดยเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีภาพลักษณ์ที่ดี ซึ่งก็จะช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับตราสินค้านั้นได้มากขึ้น และ 4) กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด หากสินค้านั้นมีภาพลักษณ์เชิงบวก ควรใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดโดยเน้นชื่อประเทศแหล่งกำเนิดของสินค้าในทุกเครื่องมือการสื่อสารการตลาด แต่หากสินค้านั้นมีภาพลักษณ์เชิงลบ ผู้ผลิตควรเน้นชื่อตราสินค้า และหลีกเลี่ยงการนำเสนอชื่อประเทศแหล่งกำเนิดในสื่อต่าง ๆ

คำสำคัญ : กลยุทธ์การจัดการตลาดต่างประเทศ, การตลาดระหว่างประเทศ, การประเมินสินค้าของผู้บริโภค, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, พฤติกรรมผู้บริโภคระหว่างประเทศ, ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548