Somphol Vantamay, . (2007, August 30). กลยุทธ์การจัดการภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า
Strategy of Country-of-Origin Images Management . Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 13(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=428.

กลยุทธ์การจัดการภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า
Strategy of Country-of-Origin Images Management

สมพล วันต๊ะเมล์
Somphol Vantamay, ภาควิชาศิลปนิเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

This article aimed to present strategy of country-of-origin images management in 4 aspects : 1) Product Strategy, in case of a positive image, manufacturers should declare the country-of-origin name in the made-in label of their products. In case of a negative image, they shouldn’t mention the country-of-origin name. Besides, they should avoid using the brand name that consumer can associate with the country-of-origin name. 2) Price Strategy, in case of a positive image, manufacturers can implement strategy of skimming price. In case of a negative image, they should implement a strategy of penetrating price so that it will attract price-conscious consumers. 3) Place Strategy, in case of a positive image, manufacturers can implement a strategy of selective distribution. In case of a negative image, they should implement a strategy of extensive distribution by establishing supply chain partners and selecting the positive-images distribution channels. 4) Promotion Strategy, in case of a positive image, manufacturers should emphasize the country-of-origin name in marketing communications tools. In case of a negative image, they should emphasize brand name and avoid presenting the country-of-origin name in order to prevent the association with country-of-origin name.

Keywords: competitive advantages, consumer’s products evaluation, country-of-origin images, international consumer behavior, international marketing, strategy of international marketing management

บทคัดย่อ
บทความนี้เสนอกลยุทธ์การจัดการภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิด 4 ด้านคือ 1) กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ หากสินค้านั้นมีภาพลักษณ์เชิงบวก ผู้ผลิตควรจะระบุชื่อประเทศแหล่งกำเนิดบนฉลากของตราสินค้า แต่หากมีภาพลักษณ์เชิงลบ ผู้ผลิตไม่ควรที่จะระบุชื่อประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังควรปรับชื่อตราสินค้า มิให้ผู้บริโภคเกิดการเชื่อมโยงกับประเทศแหล่งกำเนิดเดิม 2) กลยุทธ์ด้านราคา หากสินค้านั้นมีภาพลักษณ์เชิงบวก ผู้ผลิตสามารถใช้กลยุทธ์ราคาสูงได้ แต่หากมีภาพลักษณ์เชิงลบ ผู้ผลิตควรใช้กลยุทธ์ราคาต่ำเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่ตระหนักถึงความสำคัญของราคามากกว่าประเทศแหล่งกำเนิดได้ 3) กลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่าย หากสินค้านั้นมีภาพลักษณ์เชิงบวก ผู้ผลิตสามารถใช้กลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบเลือกสรรได้ โดยอาจจะตั้งร้านจัดจำหน่ายตราสินค้านี้ขึ้นโดยเฉพาะ แต่หากสินค้านั้นมีภาพลักษณ์เชิงลบ ผู้ผลิตควรใช้กลยุทธ์การจัดจำหน่ายแบบกว้างขวาง เพื่อสร้างพันธมิตรทางการค้าในห่วงโซ่อุปทาน โดยเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีภาพลักษณ์ที่ดี ซึ่งก็จะช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับตราสินค้านั้นได้มากขึ้น และ 4) กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด หากสินค้านั้นมีภาพลักษณ์เชิงบวก ควรใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดโดยเน้นชื่อประเทศแหล่งกำเนิดของสินค้าในทุกเครื่องมือการสื่อสารการตลาด แต่หากสินค้านั้นมีภาพลักษณ์เชิงลบ ผู้ผลิตควรเน้นชื่อตราสินค้า และหลีกเลี่ยงการนำเสนอชื่อประเทศแหล่งกำเนิดในสื่อต่าง ๆ

คำสำคัญ : กลยุทธ์การจัดการตลาดต่างประเทศ, การตลาดระหว่างประเทศ, การประเมินสินค้าของผู้บริโภค, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, พฤติกรรมผู้บริโภคระหว่างประเทศ, ภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=428