Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 12, No. 2 (2006) open journal systems 


การพัฒนาป่าชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเยาวชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาป่าชุมชนเขาหัวช้าง ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
The Development of Community Forest as a Learning Resource for the Youth with Community Participation: A Case Study of Khao Hua - Chang Community Forest, Tamot Subdistrict, Phatthalung Province


นงลักษณ์ รักเล่ง เยาวนิจ กิตติธรกุล
สาระ บำรุงศรี
Nongluk Rukleng
Jawanit Kittitornkool and Sara Bumrungsri


Abstract
The objectives of this action research in Khao Hau-Chang community forest, Tamot Subdistrict, Tamot District, and Phatthalung Province are to study the development of community forest as a learning resource for the youth by means of community participation, characteristics of the community-forest learning resource, conditions and factors contributing and/or obstructing the process, as well as learning achievements of the youth. An outcome of the development of community forest as a learning resource, is a curriculum to be used in a learning process in the forest. According to the achievement test results, the youth have increased their knowledge, understanding and positive attitudes about forest at the statistically significant level of 0.05. The degree of their satisfaction of the learning source is high. Conditions and factors contributive to the process are related to the volunteers’ previous experiences as natural intepreters in a nature trail of the forest. However, to an extent, their time constraints, due to other community activities and occupational obligations, limited their participation.

Keywords: action research, learning resource, community forest, community participation, Phatthalung

บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้กรณีศึกษาของป่าชุมชนเขาหัวช้าง ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง เพื่อศึกษากิจกรรมการพัฒนาป่าชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ลักษณะของแหล่งเรียนรู้ป่าชุมชนที่เหมาะสมสำหรับเยาวชน เงื่อนไขและปัจจัยที่เอื้อหรือเป็นอุปสรรคต่อการจัดทำแหล่งเรียนรู้ป่าชุมชน และผลการเรียนรู้ของเยาวชนจากการใช้แหล่งเรียนรู้ ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาป่าชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ทำให้เกิดหลักสูตรแหล่งเรียนรู้ป่าเขาหัวช้างขึ้น ซึ่งวิทยากรหรือครูภูมิปัญญาสามารถใช้เป็นคู่มือสำหรับการจัดกระบวนการเรียนรู้ และผลการทดลองใช้แหล่งเรียนรู้ทำให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 รวมทั้งมีความพึงพอใจแหล่งเรียนรู้อยู่ในระดับมาก โดยเงื่อนไขหรือปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดทำแหล่งเรียนรู้คือ ผู้ร่วมพัฒนาเคยมีประสบการณ์การทำงานลักษณะเดียวกันนี้มาก่อน ส่วนเงื่อนไขหรือปัจจัยที่เป็นอุปสรรคคือ ภาระงานของผู้ร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้

คำสำคัญ: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, แหล่งเรียนรู้, ป่าชุมชน, การมีส่วนร่วมของชุมชน, พัทลุง


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548