Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 12, No. 2 (2006) open journal systems 


ปัจจัยและผลกระทบที่รัฐบาลมาเลเซียผลักดันแรงงานไทยกลับประเทศ
The Deportation of Thai Laborers by the Malaysian Government: Causes and Impacts


ดลมนรรจน์ บากา และ เกษตรชัย และหีม

Dolmanach Baka and Kasetchai Laehheem


Abstract
This research aimed 1) to study the factors driving Malaysian government to push back Thai labors and its impacts, 2) to investigate how Thai government dealt with these labor problems and what occupations Thai labors resumed after being pushed back to Thailand, 3) to study why some Thai labors could continue to work in Malaysia despite Malaysian labor measure, and 4) to study what Thai labors expected from Thai government after being pushed back by Malaysian government. Qualitative data were drawn from 14 key informants and quantitative data from 392 Thai labors. It was found that Malaysian government pushed back Thai labors because they wanted to get rid of illegal labors, thus causing Thai labors to lose their incomes. After being pushed back to Thailand, most Thai labors were unemployed and Thai government should provide domestic employment for them. However, some Thai labors could still work in Malaysia because they were granted legal work permits. These Thai labors expected Thai government to lower the cost of living and increase domestic minimum wages.

Keywords : impacts, Malaysian government, push back, Thai labors

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่รัฐบาลมาเลเซียผลักดันแรงงานไทยกลับประเทศไทยและผลกระทบ 2) ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาแรงงานไทยของรัฐบาลไทยและการประกอบอาชีพของแรงงานไทยหลังจากรัฐบาลมาเลเซียผลักดันให้กลับประเทศไทย 3) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้แรงงานไทยบางส่วนสามารถทำงานต่อในประเทศมาเลเซียหลังจากรัฐบาลมาเลเซียผลักดันให้กลับประเทศไทย และ 4) ศึกษาความคาดหวังจากรัฐบาลของแรงงานไทยหลังจากรัฐบาลมาเลเซียผลักดันให้กลับประเทศไทย เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวน 14 คน และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากแรงงานไทย จำนวน 392 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) รัฐบาลมาเลเซียผลักดันแรงงานไทยกลับประเทศเพราะต้องการปราบปรามแรงงานเถื่อน อันมีผลให้แรงงานไทยขาดรายได้ 2) หลังจากรัฐบาลมาเลเซียผลักดันแรงงานไทยกลับประเทศ รัฐบาลไทยควรสร้างงานในประเทศให้แรงงานเหล่านี้เนื่องจากส่วนใหญ่กำลังว่างงาน 3) การที่แรงงานบางส่วนสามารถทำงานต่อในประเทศมาเลเซียเพราะเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย 4) แรงงานไทยต้องการให้รัฐบาลไทยลดค่าครองชีพและเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำในประเทศ

คำสำคัญ : ผลกระทบ ผลักดัน รัฐบาลมาเลเซีย แรงงานไทย


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548