Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 12, No. 1 (2006) open journal systems 


สภาพการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่ของวัตถุของนักศึกษาครูวิชาเอกฟิสิกส์ชั้นปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
Conceptual Development of Force and Motion in Third-Year Preservice Physics Teachers Participation in Constructvist Learning Activities


ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์ เพ็ญจันทร์ ซิงห์
และ วรรณทิพา รอดแรงค้า
Khajornsak Buaraphan
Penchantr Singh and Vantipa Roadrangka


Abstract
The participants, four third-year preservice physics teachers from Rajabhat University in Bangkok, were interviewed individually relating to teaching and learning about force and motion in secondary and tertiary levels and the period of pedagogical content knowledge (PCK) modeling in the physics methods course. In addition, they were interviewed in-depth related to force and motion concepts before and after participated in the period of PCK modeling by using the interview-about-instance technique. The results revealed that their teachers at secondary and tertiary levels usually taught by lecture and emphasized memorizing force and motion equations rather than understanding key concepts of force and motion and their applications in real life situations. These caused the participants lack of understanding of force and motion and had negative attitudes toward learning force and motion. The activities during the period of PCK modeling had a potential to enhance their understanding and reasoning of force and motion and promote their positive attitudes toward learning force and motion. Additionally, the human-centred viewpoint and the impetus concept are regarded as the stumbling block in learning force and motion.

Keywords: force and motion concept, preservice physics teacher, scientific concept, alternative concept, pedagogical content knowledge modeling

บทคัดย่อ
ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์นักศึกษาครูวิชาเอกฟิสิกส์ชั้นปีที่ 3 จำนวน 4 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพฯ เป็นรายบุคคลเกี่ยวกับสภาพการจัดการเรียนรู้แนวคิดเกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่ของวัตถุในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา และในช่วงการแสดงแบบอย่างการสอนแบบผนวกเนื้อหาและวิธีสอนของวิชาพฤติกรรมการสอนฟิสิกส์ และได้สัมภาษณ์แนวคิดของนักศึกษาเกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่ของวัตถุขณะก่อนและหลังการเรียนรู้ในช่วงการแสดงแบบอย่างการสอนแบบผนวกเนื้อหาและวิธีสอน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบใช้ภาพเขียนลายเส้นประกอบ พบว่าครูผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาของนักศึกษาจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยใช้การบรรยายเป็นหลัก และมุ่งเน้นการจดจำสมการต่าง ๆ มากกว่าการทำความเข้าใจแนวคิดสำคัญของแรงและการเคลื่อนที่ของวัตถุและการประยุกต์ใช้แนวคิดเหล่านั้นในชีวิตประจำวัน สิ่งเหล่านี้ทำให้นักศึกษาขาดความรู้ความเข้าใจและมีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนรู้เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ของวัตถุ นอกจากนั้นพบว่ากิจกรรมการเรียนรู้ในช่วงการแสดงแบบอย่างการสอนแบบผนวกเนื้อหาและวิธีสอนช่วยให้นักศึกษาพัฒนาความรู้ความเข้าใจและการให้เหตุผลเกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่ของวัตถุดีขึ้น และพัฒนาเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ของวัตถุ ทั้งนี้พบว่ามุมมองที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางและแนวคิดเกี่ยวกับแรงขับดันภายในของวัตถุเป็นอุปสรรคสำคัญในการเรียนรู้แนวคิดเกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่ของวัตถุ

คำสำคัญ: แนวคิดเกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่ของวัตถุ, นักศึกษาครูวิชาเอกฟิสิกส์, แนวคิดทางวิทยาศาสตร์, แนวคิดคลาดเคลื่อนจากแนวคิดทางวิทยาศาสตร์, การแสดงแบบอย่างการสอนแบบผนวกเนื้อหาและวิธีสอน


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548