Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 10, No. 1 (2004) open journal systems 


การพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาป่าชุมชนเขาหัวช้าง ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
The Development of the Learning Process of Community - Based Ecotourism Management: A Case Study of Khao Hua - Chang Community Forest Tambon Tamot, Amphoe Tamot, Changwat Phattalung


ธฤษวรรณ นนทพุทธ และ เยาวนิจ กิตติธรกุล

Thritsawan Nonthaphut and Jawanit Kittitornkool


Abstract
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยศึกษาชุมชนตะโหมด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นชุมชนหนึ่งที่มีความสนใจในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อเป็นกลไกในการอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาหัวช้าง ผลการศึกษาพบว่า การเรียนรู้ของสมาชิกในชุมชนเกิดจากเงื่อนไขของเวลา ดังนี้ (1) ทุนของชุมชนซึ่งได้แก่ ทุนระบบนิเวศ ทุนคน ทุนระบบสังคมและวัฒนธรรม ทุนสติปัญญา และทุนเงินตรา (2) พลวัตของปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทุนของชุมชนและการเรียนรู้ของสมาชิกในชุมชน (3) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้แก่สมาชิกในชุมชน สามารถแบ่งการเรียนรู้ได้เป็น 2 ประเภท คือ การเรียนรู้ของสมาชิกในชุมชนที่พัฒนาจากทุนเดิม และการเรียนรู้ของสมาชิกในชุมชนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยการเรียนรู้ของสมาชิกในชุมชนตะโหมดเกิดขึ้นกับบุคคล 3 กลุ่มตามระดับการมีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัย คือ คณะกรรมการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คณะกรรมการป่าชุมชนเขาหัวช้าง และสมาชิกในชุมชน ตามลำดับ

คำสำคัญ : กระบวนการเรียนรู้, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, ป่าชุมชน This action research aims to develop a learning process of community – based on ecotourism management. The study focused on Tamot community, since its community members are interested in developing ecotourism as a means to conserve their community forest. The community’s learning was related to three factors : (1) the community capital which comprises ecological, human, socio – cultural, wisdom, and monetary capital; (2) the dynamics of the external factors, which are associated with the community capital and the community’s learning; (3) the development of the learning process in ecotourism management. The learning outcomes can be categorized into 3 groups based on their involvement : the ecotourism committee, the community forest committee and other community members.

Keywords : community forest, ecotourism, learning process


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548