Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 11, No. 3 (2005) open journal systems 


การผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว
Production and Marketing of Coconut Shell Product


ชูศักดิ์ จรูญสวัสดิ์
Chusak Charoonsawat


Abstract
This research is focused on process of production and marketing of coconut shell products. The data were collected by interviewing group leaders and skilled workers of the following groups; Chaiburee Handicrafts Group in Phattalung, Ban Na Tam Group in Songhla and Srakaew Handicap Handicrafts Group in Nakornsrithammarat, including the shopkeepers stores. The study indicated that there were many styles of coconut shell products like ornaments, furniture and utensils. Almost all were similar to foreign products and made from coconut shell. Each piece’s producing-time varied from 2 – 3 minutes to 15 days. These works were allocated to their members and designed by their group leaders. The first, second and third groups’ labors were 104, 30 and 9 respectively. Every group paid labor costs for each piece of work. The first and second groups took 3% of total sale for marketing expenses and the rest took 20% for expenditure in marketing and purchasing raw materials. Most of the products were sold wholesale. About 80% of the first and second groups and 50% of the third group were exported. Each group had different strengths and weaknesses. However, they shared one strength – a strong group leader and one weakness – communicating with foreigners.

Keyword: Coconut Shell Products, Handicrafts, Marketing, Production, Worker

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิต และการจำหน่ายของผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเจาะจง โดยสัมภาษณ์ผู้นำกลุ่มและช่างฝีมือจาก 3 กลุ่ม คือ ศูนย์ศิลปาชีพชัยบุรี จังหวัดพัทลุง กลุ่มบ้านหน้าถ้ำ จังหวัดสงขลา และกลุ่มหัตถกรรมคนพิการบ้านสระแก้ว จังหวัดนครศรีธรรมราช และร้านค้าบางแห่ง ผลการวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์มีตั้งแต่เครื่องประดับ ตกแต่งบ้าน เครื่องใช้ในครัว ส่วนใหญ่จะคล้ายกับของต่างประเทศ วัตถุดิบเป็นกะลาเกือบทั้งหมด เวลาผลิตตั้งแต่ 2-3 นาทีถึง 15 วัน ทั้งสามกลุ่มกระจายงานให้สมาชิก ส่วนใหญ่ประธานออกแบบ กลุ่มแรกมีแรงงาน 104 คน กลุ่มที่สอง 30 คน กลุ่มที่สาม 9 คน ทุกกลุ่มจ่ายค่าแรงเป็นรายชิ้นและหักเงินจากการขายสินค้าเข้ากลุ่ม สองกลุ่มแรกหักร้อยละ 3 เป็นค่าจำหน่าย กลุ่มที่สามหักร้อยละ 20 เป็นค่าการตลาดและวัตถุดิบ ส่วนใหญ่ขายส่ง สองกลุ่มแรกส่งออกร้อยละ 80 และกลุ่มที่สามร้อยละ 50 แต่ละกลุ่มมีจุดแข็งจุดอ่อนแตกต่างกัน ที่เหมือนกัน คือ มีจุดแข็งด้านตัวผู้นำกลุ่มและจุดอ่อนด้านการใช้ภาษาสื่อสารกับต่างประเทศ

คำสำคัญ: การผลิต, การตลาด, ผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว, แรงงาน, หัตถกรรม


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548