Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 11, No. 2 (2005) open journal systems 


การวิเคราะห์เศรษฐกิจการผลิตมังคุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช
An Economic Analysis of Mangosteen Production in Nakorn Sri Thammarat Province


สมพงษ์ อรพินท์ และ ณรงค์ ภัทรปิยพันธ์

Sompong Oraping and Narong Patharapivaphun


Abstract
This research aimed to analyze the returns and costs of mangosteen product in the Nakorn-Srithammarat Province. The results showed that the total costs of mangosteen production per rai in 1998/99 production year was 5,398.75 baht and 7.86 baht per kilogram. Its cost of production could be classified into 3 phases: the initial cost of mangosteen production, the cost of premangosteen’s bearing fruit, (is 2.11 baht per kilogram) the costs during bearing fruit. Its net profit was 15,071.73 baht per rai. The Cobb-Douglas production function analysis was found that the mangosteen production function was in the increasing return to scale stage. It meaned that when total factors of production increased 1 percent, it would cause rising its output by 1.05 percent, when the elasticity of output on various factors of production such as seeding being elastic about 0.65521, fertilizer and labor had elasticity of 0.13804 and 0.25865 respectively.

Keywords: Cobb-Douglas Production Function, increasing return to scale, mangosteen production.

บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนและต้นทุนจากการผลิตมังคุด ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการศึกษาแสดงว่า ในต้นทุนการผลิตมังคุดปี 2541/42 เป็นดังนี้ ต้นทุนทั้งหมดในการผลิตเฉลี่ยต่อไร่เท่ากับ 5,398.75 บาท ต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ยต่อกิโลกรัมเท่ากับ 7.86 บาท ซึ่งแยกพิจารณาต้นทุนเป็น 3 ช่วงคือ ต้นทุนเริ่มแรกในการผลิตมังคุด ต้นทุนก่อนที่มังคุดจะให้ผลผลิต ต้นทุนในช่วงที่มังคุดให้ผลผลิต กำไรสุทธิเฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 15,071.73 บาท จากการวิเคราะห์โดยใช้ฟังก์ชันการผลิตแบบคอป ดักลาส พบว่า ฟังก์ชันการผลิตมังคุดในระยะผลตอบแทนต่อขนาดการผลิตเพิ่มขึ้น คือ เมื่อเพิ่มปัจจัยการผลิตทั้งหมดขึ้นร้อยละ 1 จะทำให้ผลผลิตมังคุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.05 เมื่อพิจารณาถึงความยืดหยุ่นของการผลิตที่มีต่อปัจจัยการผลิตต่าง ๆ คือ จำนวนต้นพันธุ์มีความยืดหยุ่นเป็น 0.65521 รองลงมาได้แก่ ปัจจัยปุ๋ยและแรงงานมีความยืดหยุ่นร้อยละ 0.13804 และ 0.25865 ตามลำดับ

คำสำคัญ: การผลิตมังคุด, ผลตอบแทนต่อขนาดการผลิตเพิ่มขึ้น, ฟังก์ชันการผลิตแบบคอป ดักลาส


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548