Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 10, No. 1 (2004) open journal systems 


การพัฒนาแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Development of a Science Process Skill Test Using Item Response Theory for Prathomsuksa Six Students


ณรัณ ศรีวิหะ วิรัตน์ ธรรมาภรณ์
สิริภพ กาฬสุวรรณ
Naran Sriviha
Wirat Thumaporn and Sirapop Kansuwan


Abstract
บทคัดย่อการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบในการวิเคราะห์คุณภาพของข้อสอบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2545 ของโรงเรียนทุกสังกัดในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จำนวน 2,133 คน การวิจัยครั้งนี้ได้แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพ ดังนี้ 1. มีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยมีคะแนนเฉลี่ยจากการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญ ผ่านเกณฑ์ที่ยอมรับคือ มีดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับนิยามเชิงปฏิบัติการของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่กำหนดไว้ (IC) ตั้งแต่ 0.06 ถึง 1.00 2. มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.346 ถึง 1.989 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.809 มีค่าความยากตั้งแต่ –0.931 ถึง 1.921 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.653 มีค่าการเดาตั้งแต่ 0.101 ถึง 0.260 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.170 3. มีค่าสารสนเทศของแบบทดสอบสูงมากที่ระดับความสามารถตั้งแต่ 0.40 ถึง 1.50 นั่นคือแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ฉบับนี้มีความเหมาะสมมากสำหรับใช้ทดสอบกับนักเรียนที่มีความสามารถตั้งแต่ระดับปานกลางจนถึงระดับค่อนข้างสูง

คำสำคัญ : การพัฒนาแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, การวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ, ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ The purpose of this study was to develop a science process skill test using Item Response Theory for analysis of the test quality. The sample were 2,133 Prathomsuksa six students in the second semester of the 2002 academic year selected from schools in Yala, Pattani and Narathiwat. The study developed the science process skill test with the following qualities: 1. The construct validity was indicated by the average score rated by the experts ranged from 0.06 to 1.00, above the acceptable level. 2. The item discrimination power ranged from 0.346 to 1.989 with the average level of 0.809. The difficulty level ranged from –0.931 to 1.921 with the average level of 0.653. The guessing ranged from 0.101 to 0.260 with its average level of 0.170. 3. There was a very high test information function at the ability level of 0.40 to 1.50. Thus, the test was very suitable for measuring the students whose ability was at the moderate to high level.

Keywords: analysis of the test quality, development of a Science Process Skill Test, Item Response Theory


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548