Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 11, No. 1 (2005) open journal systems 


การเปลี่ยนแปลงมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว เนื่องจากความเสื่อมโทรมของทะเลสาบสงขลา ที่ตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา
Change in Economic Value of Sea-bass Mariculture due to Environmental Degradationat KoYo, Changwat Songkhla


กัลยาณี พรพิเนตพงศ์ และ ศักดิ์ชัย คีรีพัฒน์

Kunlayanee Pornpinatepong and Sakchai Kiripat


Abstract
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวอันเนื่องจากความเสื่อมโทรมของทะเลสาบสงขลานี้ใช้วิธีประเมินสวัสดิการทางเศรษฐกิจที่สังคมได้รับจากการผลิตเมื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหนึ่งของการผลิต แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอุปทานพัฒนาขึ้นโดยใช้ฟังก์ชันการผลิตของ Cobb-Douglas และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอุปสงค์ของตลาดปลากะพงขาวในการศึกษานี้ใช้แบบจำลองภายใต้สมมติฐานที่เป็น iso-elastic demand function ผลการศึกษาพบว่ามูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวที่เกาะยอภายใต้การใช้ประโยชน์ของทรัพยากรอย่างเหมาะสมจะสูงกว่าการผลิตโดยเสรี ระดับผลผลิตจะแปรผันกับปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ จากการทดสอบสภาพไว พบว่าปริมาณที่ลดลงของออกซิเจนที่ละลายในน้ำจะทำให้เส้นอุปทานเปลี่ยนระดับ ส่งผลให้มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ลดลง จากฟังก์ชันการผลิตของ Cobb-Douglas พบว่าการผลิตปลากะพงขาวที่ตำบลเกาะยอที่มีปริมาณกระชังและคุณภาพสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยการผลิตเป็นการผลิตในช่วงที่มีผลได้ต่อขนาดของการผลิตเพิ่ม

คำสำคัญ: การเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว, ทะเลสาบสงขลา, มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์

Abstract
This pilot-analysis of the economic value of sea-bass mariculture due to environmental degradation of the Songkhla Lake adopts the method of welfare measurement, taking environmental quality as an input factor for production. A supply model of sea-bass has been estimated using Cobb-Douglas production function. The market demand model for the sea-bass has been created, based on hypothetical iso-elastic demand function. It is found that the economic value of sea-bass under optimal management is higher than under open access. The production varies with the amount of dissolved oxygen in the water. The sensitivity analysis shows that a decrease of dissolved oxygen causes a shift in supply to a lower economic value of sea-bass. The Cobb-Douglas production function with environmental quality and number of sea-bass cages as input factors shows that sea-bass mariculture production is of the type of "increasing return to scale."

Keywords: economic value, sea-bass mariculture, Songkhla Lake


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548