และ ศักดิ์ชัย คีรีพัฒน์, ., & and Sakchai Kiripat, <. (2005, June 8). การเปลี่ยนแปลงมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว เนื่องจากความเสื่อมโทรมของทะเลสาบสงขลา ที่ตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา
Change in Economic Value of Sea-bass Mariculture due to Environmental Degradationat KoYo, Changwat Songkhla. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 11(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=282.

การเปลี่ยนแปลงมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว เนื่องจากความเสื่อมโทรมของทะเลสาบสงขลา ที่ตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา
Change in Economic Value of Sea-bass Mariculture due to Environmental Degradationat KoYo, Changwat Songkhla

กัลยาณี พรพิเนตพงศ์ และ ศักดิ์ชัย คีรีพัฒน์,

Kunlayanee Pornpinatepong and Sakchai Kiripat,

Abstract

บทคัดย่อ
การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวอันเนื่องจากความเสื่อมโทรมของทะเลสาบสงขลานี้ใช้วิธีประเมินสวัสดิการทางเศรษฐกิจที่สังคมได้รับจากการผลิตเมื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหนึ่งของการผลิต แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอุปทานพัฒนาขึ้นโดยใช้ฟังก์ชันการผลิตของ Cobb-Douglas และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอุปสงค์ของตลาดปลากะพงขาวในการศึกษานี้ใช้แบบจำลองภายใต้สมมติฐานที่เป็น iso-elastic demand function ผลการศึกษาพบว่ามูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวที่เกาะยอภายใต้การใช้ประโยชน์ของทรัพยากรอย่างเหมาะสมจะสูงกว่าการผลิตโดยเสรี ระดับผลผลิตจะแปรผันกับปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ จากการทดสอบสภาพไว พบว่าปริมาณที่ลดลงของออกซิเจนที่ละลายในน้ำจะทำให้เส้นอุปทานเปลี่ยนระดับ ส่งผลให้มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ลดลง จากฟังก์ชันการผลิตของ Cobb-Douglas พบว่าการผลิตปลากะพงขาวที่ตำบลเกาะยอที่มีปริมาณกระชังและคุณภาพสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยการผลิตเป็นการผลิตในช่วงที่มีผลได้ต่อขนาดของการผลิตเพิ่ม

คำสำคัญ: การเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว, ทะเลสาบสงขลา, มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์

Abstract
This pilot-analysis of the economic value of sea-bass mariculture due to environmental degradation of the Songkhla Lake adopts the method of welfare measurement, taking environmental quality as an input factor for production. A supply model of sea-bass has been estimated using Cobb-Douglas production function. The market demand model for the sea-bass has been created, based on hypothetical iso-elastic demand function. It is found that the economic value of sea-bass under optimal management is higher than under open access. The production varies with the amount of dissolved oxygen in the water. The sensitivity analysis shows that a decrease of dissolved oxygen causes a shift in supply to a lower economic value of sea-bass. The Cobb-Douglas production function with environmental quality and number of sea-bass cages as input factors shows that sea-bass mariculture production is of the type of "increasing return to scale."

Keywords: economic value, sea-bass mariculture, Songkhla Lake

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=282