Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 11, No. 1 (2005) open journal systems 


ผลของลักษณะงานต่อความพึงพอใจในงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Effects of Job Characteristics on Job Satisfaction Among Personnel at the Prince of Songkla University


ยุคล ทองตัน
Yukol Thongton


Abstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อหาลักษณะของงานที่สัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,008 คนได้รับแบบสอบถามคืน 603 คน ( 57.59%) เครื่องมือเป็นแบบสอบถามซึ่งแปลมาจาก Job Diagnostic Survey ของ Hackman and Oldham การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์แบบถดถอย( Multiple regression analysis), t-test, F-test และ tukey’s test ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มเป็นรายคู่ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ความหลากหลายของทักษะ ความสมบูรณ์ของงานและความสำคัญของงาน สามารถอธิบายความแปรปรวนของการรับรู้ว่างานนั้นมีความหมาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2=0.167) 2. งานที่ผู้ทำมีอิสระในการทำงานและตัดสินใจสามารถอธิบายความแปรปรวนของความรับผิดชอบที่มีต่องานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2=0.038) แต่ความแปรปรวนที่อธิบายได้มีค่าน้อย 3. ข้อมูลย้อนกลับในเรื่องข้อดี-ข้อควรปรับปรุงสามารถอธิบายความแปรปรวนของการรับรู้ผลของการกระทำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2=0.235) 4. การรับรู้ว่างานนั้นมีความหมายและการรับรู้ผลของการกระทำสามารถอธิบายความแปรปรวนของความพึงพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2=0.212) 5. ความรับผิดชอบที่มีต่องานอธิบายความแปรปรวนของความพึงพอใจในงานได้อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ วิธีการที่ใช้เพิ่มความพึงพอใจในงานคือควรปรับปรุงลักษณะของงานต่างๆที่งานวิจัยนี้พบว่าเป็น ตัวทำนายที่สำคัญของความพึงพอใจในงาน

คำสำคัญ : ลักษณะของงาน, ความพึงพอใจในงาน, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract
The objective of this study was to determine the impact of job characteristics on job satisfaction among the personnel at the Prince of Songkla University. The subjects were 1008 personnel selected by stratified random sampling. Six hundred and three subjects completed the questionnaires. Response rate was 57.59%. The instrument was the questionnaires translated from the Job Diagnostics Survey of Hackman and Oldham. Using Multiple regression analysis, t-test, F-test and tukey’s test for pairwise comparison were used to analyze the data. The results revealed that 1. Skill variety, task identity and task significance significantly explained the variance of job meaningfulness (R2 = 0.167) 2. Autonomy significantly explained the variance of job responsibility (R2 = 0.038). However, the explained variance was low. 3. Feedback from job significantly explained the variance of knowledge of the result (R2 = 0.235). 4. Job meaningfulness and knowledge of the result significantly explained the variance of job satisfaction (R2 = 0.212). 5. Job responsibility was not a significant predictor of job satisfaction. Intervention to increase job satisfaction should regard job characteristics identified as significant predictors in this study as an important target.

Keywords: job characteristics, job satisfactions ,Prince of Songkla University


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548