Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 5, No. 3 (1999) open journal systems 


อาการเหนื่อยหน่ายในการทำงาน : การวิจัยในประเทศไทย สาเหตุและผลที่ตามมา

สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, ภาควิชาบริหารเภสัชกิจ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
บทความนี้ทบทวนวรรณกรรมในประเทศที่เกี่ยวกับการวิจัยเรื่องอาการเหนื่อยหน่าย สาเหตุ และผลลัพธ์ของการเกิดอาการดังกล่าว โดยคัดเลือกเฉพาะงานวิจัยที่ใช้ MBI เป็นเครื่องมือในการวัดอาการเหนื่อยหน่าย งานวิจัยในประเทศประมาณครึ่งหนึ่งใช้ MBI อาชีพที่มีการศึกษามากที่สุดคือ วิชาชีพพยาบาล สาเหตุที่สำคัญของอาการเหนื่อยหน่ายที่พบ คือ 1) สิ่งเร้าก่อความเครียด เช่น ความขัดแย้งของบทบาท และรูปแบบงานบริการที่มีภาระสูงทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ ตลอดจนการขาดการประเมินผลของการทำงานย้อนกลับ 2) ลักษณะของงาน เช่น ความมีอิสระในการทำงาน และความจำเจของงาน 3) วิธีการใช้แรงเสริมขององค์กร 4) การสนับสนุนทางสังคมจากผู้ร่วมงาน องค์กรและครอบครัว 5) ปัจจัยประชากรศาสตร์ บุคลิกภาพ ความคาดหวังและความเชื่อมั่นในความสามารถของตน ผลลัพธ์ของอาการเหนื่อยหน่ายมี 4 ประการคือ 1) ผลทางสุขภาพกายและสุขภาพจิต 2) ผลต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่น 3) ผลต่อทัศนคติ และ 4) ผลต่อพฤติกรรมการทำงานและการเสพสิ่งเสพติด คำสำคัญ : อาการเหนื่อยหน่าย, ความเครียด, จิตวิทยาองค์กร, ความอ่อนล้าทางอารมณ์, การลดความเป็นบุคคล, ความรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ The article reviewed the relevant research in Thailand, potential causes and consequences of job burnout. The review focused on the studies using MBI as an instrument for measuring burnout. Half of the research in Thailand employed MBI. Nurse profession has been studied in this issue more than any other occupations in Thailand. Major causes include 1) job stressor such as role conflict, human services with high quantitative and qualitative workload, and the lack of feedback, 2) job characteristics such as autonomy and routine etc, 3) reinforcement of the organization, 4) social support from workplace, organization and family, 5) demographic factors, personality, expectations and self-efficacy. Consequences of burnout are categorized into 4 domains 1) physical and emotional effects, 2) interpersonal effects, 3) attitudinal effects and, 4) behavioral effects including job and consumption behaviors. Keywords : burnout, stress, organization psychology, emotional exhaustion, depersonalization, personal accomplishment


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548