Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 20, No. 3 (2014) open journal systems 


คำนิยามของเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมในมุมมองใหม่
A Definition of Three-Participant Event from a New Perspective


สุธาทิพย์ เหมือนใจ, ภาควิชาภาษาศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Suthatip Mueanjai, Department of Linguistics, Faculty of Arts, Chulalongkorn University


Abstract
The objective of the study is to propose a definition of three-participant event from a new perspective which is more inclusive and elaborate in terms of semantic and syntactic properties than those in the previous works. The study was carried out by analyzing the 4 previous studies: Margetts 2002; 2007, Margetts and Austin 2007, and Enfield 2007. The definition of three-participant event proposed in this paper is that the event with three cognitively salient participants. “The valency necessity” and “the communicative purpose” (Faulhaber, 2011) are the cognitive saliency properties of the participants. The 3 participants are semantically required by the event in order that the conceptualization of the three-participant event is fulfilled. The 3 participants are also pragmatically required unless the communicative goal is failed. These cognitive saliency properties are reflected on the syntactic realization of the participants as core arguments.

Keywords: definition, pragmatics, semantics, syntax, three-participant event

บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอคำจำกัดความ ของเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมในอีกมุมมองหนึ่งที่ ครอบคลุมและให้รายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติด้าน อรรถศาสตร์และวากยสัมพันธ์ที่งานวิจัยในอดีตกล่าวถึง ไว้ไม่ชัดเจน การศึกษาทำโดยวิเคราะห์งานวิจัยใน อดีตจำนวน 4 เรื่องที่ศึกษาเรื่องเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วม ได้แก่ งานวิจัยของมาร์เก็ตส์ในปี ค.ศ.2002 และ ค.ศ. 2007 (Margetts 2002, 2007) งานวิจัยของมาร์เก็ตส์ และออสตินในปี ค.ศ.2007 (Margetts and Austin, 2007) และงานวิจัยของเอ็นด์ฟิลด์ในปี ค.ศ.2007 (Enfield, 2007) บทความนี้ มีคำจำกัดความว่า เหตุการณ์ ที่ประกอบด้วยหน่วยร่วมเหตุการณ์จำนวน 3 หน่วย ที่มีความโดดเด่นทางปริชาน 2 ด้านได้แก่ ด้าน อรรถศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องความหมายประจำ คำกริยา กล่าวคือ เหตุการณ์ไม่สามารถขาดหน่วยร่วม เหตุการณ์หน่วยใดหน่วยหนึ่งได้ เนื่องจากจะมีผลให้ เหตุการณ์ขาดความสมบูรณ์ทางความหมาย และด้าน วัจนปฏิบัติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องความจำเป็นในด้าน การสื่อสาร กล่าวคือ หากขาดหน่วยร่วมเหตุการณ์ หน่วยใดหน่วยหนึ่งไป เหตุการณ์จะไม่เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ในการสื่อสารของผูใ้ชภ้ าษา (Faulhaber, 2011) ความโดดเด่นทางปริชานนี้จะสะท้อนออกมาใน ลักษณะของการปรากฏรูปเป็นอาร์กิวเมนต์ของหน่วย ร่วมเหตุการณ์ คือหน่วยร่วมเหตุการณ์ทั้งสามหน่วย ปรากฏเป็นอาร์กิวเมนต์แกนทั้งหมด

คำสำคัญ: คำ นิย า ม , วัจ น ป ฏิบัติศ า ส ต ร ์, วากยสัมพันธ์, เหตุการณ์ 3 หน่วยร่วม, อรรถศาสตร์


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548