|
ปัจจัยส่วนบุคคล การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้ความสามารถของตนเองของมารดาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูบุตรวัยก่อนเรียนของมารดามุสลิมที่สูญเสียสามีจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส The Influences of Personal Factors, Social Support, and Mothers Perceived Self-Efficacy on Mothers Behaviors in Pre-School Child Rearing of Muslim Mothers Who Had Lost Their Husbands in the Unrest Area of Narathiwat Province
|
วนิสา หะยีเซะ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มยุรี นภาพรรณสกุล, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วันธณี วิรุฬพาณิช, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Wanisa Hayeese, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University Mayuree Naphapunsakul, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University Wantanee Wiroonpanich, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University |
Abstract
This predictive study aimed to identify the
influences of personal factors, social support, and
mothers perceived self-efficacy on mothers
behaviors in pre-school child rearing of Muslim
mothers who had lost their husbands in the unrest
area of Narathiwat province. The sample comprised
113 mothers who had lost their husbands and had
a pre-school child aged 3 to 6 years. The data were
collected using four questionnaires developed by
the researcher: mothers and childrens demographic
data; social support; mothers perceived selfefficacy;
and mothers behaviors in pre-school child
rearing. The questionnaires were tested for content
validity by three experts and for reliability using
Cronbachs alpha coefficient. The Cronbachs alpha
coefficients of social support, mothers perceived
self-efficacy, and mothers behaviors in pre-school
child rearing were 0.78, 0.93, and 0.89 respectively.
The data were analyzed using descriptive statistics
and stepwise multiple regression analysis.
The results revealed that 1) For personal factors,
most mothers had education up to secondary school
level or less (66.4%). Most families were extended
family (78.4%) and 71.7 percent of mothers had
pre-school child rearing experience, 2) The mean
total of social support, mothers perceived selfefficacy,
and mothers behavior in pre-school child
rearing were at moderate, high, and high level
respectively and 3) Stepwise multiple regression
analysis showed that 57 percent of the variance
of the mothers behaviors in pre-school child rearing
was explained by mothers perceived self-efficacy
and mothers child rearing experience (p < 0.001).
The results of the study suggest that nurses should
promote mothers perceived self-efficacy in order
to improve mothers behaviors in pre-school child
rearing.
Keywords: mothers behaviors in pre-school child
rearing, mothers perceived selfefficacy,
Muslim mothers who had lost
their husband in the unrest area,
social support
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทำ นาย
(Predictive study) เพื่อศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคล การ
สนับสนุนทางสังคม และการรับรู้ความสามารถของ
ตนเองของมารดา ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการอบรม
เลี้ยงดูบุตรวัยก่อนเรียนของมารดามุสลิมที่สูญเสียสามี
จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส
กลุ่มตัวอย่างเป็น มารดามุสลิมที่สูญเสียสามีจาก
สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสที่มี
บุตรวัยก่อนเรียน 3-6 ปี โดยผู้วิจัยกำหนดขนาดกลุ่ม
ตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูป กล่าวคือขนาดประชากร
160 ราย จะมีขนาดกลุ่มตัวอย่าง 113 ราย และเก็บ
รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาโดยผู้วิจัย
ประกอบด้วย 4 ชุด คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล
ของมารดาและบุตร แบบสอบถามการสนับสนุนทาง
สังคม แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง
ของมารดา และแบบสอบถามพฤติกรรมการอบรมเลี้ยง
ดูบุตรวัยก่อนเรียน ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา โดย
ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยง
ของเครื่องมือ โดยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์
อัลฟาครอนบาค (Cronbachs alpha coefficient) ได้
ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.78, 0.93 และ
0.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย
และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล มารดาส่วนใหญ่
มีระดับการศึกษาตํ่ากว่าหรืออยู่ในระดับมัธยมศึกษา
ตอนต้น (ร้อยละ 66.4) ลักษณะครอบครัวส่วนใหญ่เป็น
ครอบครัวขยาย (ร้อยละ 78.4) และส่วนใหญ่มี
ประสบการณ์การอบรมเลี้ยงดูบุตรวัยก่อนเรียน 3-6 ปี
มาก่อน (ร้อยละ 71.7 ), 2) การสนับสนุนทางสังคม
โดยรวมอยูใ่ นระดับปานกลาง ( X = 2.39, S.D. = 0.31)
การรับรู้ความสามารถของตนเองของมารดาโดยรวม
อยู่ในระดับมาก ( X = 2.94, S.D.= 0.41) และ
พฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูบุตรวัยก่อนเรียนโดยรวม
อยู่ในระดับมาก ( X = 2.91, S.D. = 0.35) ตามลำดับ
และ 3) ผลการวิเคราะห์โดยใช้สถิติการวิเคราะห์
ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า การรับรู้ความ
สามารถของตนเองของมารดา และประสบการณ์การ
อบรมเลี้ยงดูบุตรของมารดา สามารถร่วมทำนาย
พฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูบุตรวัยก่อนเรียนของ
มารดามุสลิมที่สูญเสียสามีจากสถานการณ์ความไม่สงบ
ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสได้ร้อยละ 57 อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p < 0.001) ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะ
ว่า พยาบาลควรส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของ
ตนเองของมารดามุสลิมที่สูญเสียสามีจากสถานการณ์
ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสในการอบรม
เลี้ยงดูบุตรวัยก่อนเรียน เพื่อช่วยให้มารดามีพฤติกรรม
การอบรมเลี้ยงดูบุตรวัยก่อนเรียนที่เหมาะสม
คำสำคัญ:
การรับรู้ความสามารถของตนเองของ
มารดา, การสนับสนุนทางสังคม,
พฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูบุตรของ
มารดา, มารดามุสลิมที่สูญเสียสามีจาก
สถานการณ์ความไม่สงบ
|
|
|
|
| | | | | | | |
Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113 *บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา *All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.
© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand จำนวนผู้เยี่ยมชม
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548
|
|