อุมาหมัน, ., ธรรมาภรณ์, ., บัณฑิศักดิ์, ., Umaman, <., Thummarpon, ., & Bandisak, P. (2010, October 15). การพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถภาพทางการสอนของครูประถมศึกษา
A Development of Teaching Competency Inventory of Elementary School Teachers. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 16(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=768.

การพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถภาพทางการสอนของครูประถมศึกษา
A Development of Teaching Competency Inventory of Elementary School Teachers

นูริสสา อุมาหมัน, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิรัตน์ ธรรมาภรณ์, ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ประเสริฐ บัณฑิศักดิ์, ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Nurissa Umaman,
Wirat Thummarpon, Department of Education Measurement and Evaluation, Faculty of Education, Prince
Prasert Bandisak, Department of Education, Faculty of Education, Prince of Songkla University

Abstract



บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถภาพทางการสอนของครูประถมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลองค์ประกอบสมรรถภาพทางการสอนของครูประถมศึกษากับข้อมูล เชิงประจักษ์ 2) เพื่อหาเกณฑ์ปกติของสมรรถภาพทางการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เลือกมาจากครูที่สอนในโรงเรียน ประถมศึกษา ในจังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2550 จำนวน 500 คน สุ่ม ตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างงแบบแบง่ ชั้น (Stratified Random Sampling) ตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินสมรรถภาพทางการสอน ซึ่งมี ค่าความเชื่อมั่น .991 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ค่า Percentile และ Stanine ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้ โมเดลองค์ประกอบสมรรถภาพทางการสอนของครูประถมศึกษาสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณา จากค่าไค-สแคว์เท่ากับ 37.27 P = .00484 ที่องศาอิสระ 18 GFI = .99, AGFI = .96, CFI = 1.00, NFI = .99, Standardized RMR = .015, RMSEA = .046 สมรรถภาพทางการสอนของครูประถมศึกษาประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ เรียงลำดับ ตามค่า น้ำหนักองคป์ ระกอบจากมากไปนอ้ ยไดดั้งนี้ ความรูค้ วามสามารถในการจัดการเรียนรู้; (.90) การมุ่งพัฒนาตนเอง (.89) การวัดและประเมินผล (.86) การเตรียมความพรอ้ มในการจัดการเรียนรู้ (.82) การใช้สื่อและเทคโนโลยีประกอบ การจัดการเรียนรู้ (.81) คุณลักษณะของความเป็นครู (.78) ความสามารถในการจูงใจผู้ รียน (.78) ความรู้ความสามารถ ในสาระการเรียนรู้ (.75) ความสัมพันธร์ ะหว่างครูกับผู้เรียน (.74) และการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ (.72) ผลการวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่า แบบประเมินสมรรถภาพทางการสอนฉบับนี้มีความตรงและความเชื่อมั่นที่ดีตลอดทั้งมีเกณฑ์ปกติ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

คำสำคัญ: การพัฒนาเครื่องมือ, สมรรถภาพทางการสอน

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=768