Mamutipong, C., Jareanjiratragul, S., Tongrak, S., Cherdchom, <., มามุติพงศ์, <., เจริญจิระตระกูล, ., ทองรักษ์, ., & เฉิดโฉม, . (2010, September 7). Cost-Return Analysis of Banana (ABB Group-Kluai Hin) Production in Yala Province
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตกล้วยหินในจังหวัดยะลา. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 16(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=759.

Cost-Return Analysis of Banana (ABB Group-Kluai Hin) Production in Yala Province
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตกล้วยหินในจังหวัดยะลา

Chowda Mamutipong, Department of Agribusiness, Faculty of Economics, Prince of Songkla University
Somboon Jareanjiratragul, Department of Agribusiness, Faculty of Economics, Prince of Songkla University
Sutonya Tongrak, Department of Agribusiness, Faculty of Economics, Prince of Songkla University

Parinya Cherdchom, Department of Agribusiness, Faculty of Economics, Prince of Songkla University

โชว์ด้า มามุติพงศ์, สาขาวิชาธุรกิจเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล, สาขาวิชาธุรกิจเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สุธัญญา ทองรักษ์, สาขาวิชาธุรกิจเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ปริญญา เฉิดโฉม, สาขาวิชาธุรกิจเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

This research describes: 1) the social and economic background of Kluai Hin Banana farmers, 2) their production and distribution characteristics, 3) the production function and the technical and economic efficiency of the banana production 4) cost and return, and 5) problems and threats for its production and marketing in Yala Province. Data from 64 Kluai Hin farmers which produce this banana on at least 1 rai as a single species was analyzed descriptively and quantitatively. With respect to the social setting, it was found that the farmers are on average 46 years old. Most of them followed primary education and have operated their production for about 8 years. The average planting area is 1.85 rai. The average production is 2,325 kg per rai per year and the product price is 13.4 baht per bunch of banana. The production factors: suckers, manure, chemicals, and labor are statistically significant to the output. However, suckers, manure and chemicals are applied at lower levels than what is known to be optimal. To improve the economic efficiency, the use of these factors should be increased. Meanwhile, the labor input is higher than necessary and this can and should be reduced. A costreturn analysis shows that the total return from the production is 22,240 baht and the overall cost is 18,755 baht per rai per year. The net return is about 6,200 baht, and the profit is about 3,485 baht per rai per year. The problems are: the change in banana trading from counting bunches to per kilogram, and a lack of coorperation among farmers and less support of the government.

Keywords: cost-return, Kluai Hin, Kluai Hin farmers, technical and economic efficiency, Yala

บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหิน 2) ลักษณะ การผลิตและจำหน่าย 3) ฟังก์ชันการผลิต และประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตด้านเทคนิคและเศรษฐกิจ 4) ต้นทุน และผลตอบแทน และ 5) ปัญหาและอุปสรรคด้านการผลิตและตลาดกล้วยหิน ในจังหวัดยะลา โดยสัมภาษณ์เกษตรกร ที่มีพื้นที่ปลูกกล้วยหินตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป จำนวน 64 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 46 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด และมีประสบการณ์การปลูก กล้วยหินเฉลี่ย 8 ปี มีพื้นที่ปลูกกล้วยหินเฉลี่ย 1.85 ไร่ต่อครัวเรือน ได้ผลผลิตเฉลี่ย 2,325 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี การผลิตและราคาผลผลิตเฉลี่ย 13.4 บาทต่อหวี ปัจจัยการผลิต หน่อกล้วยหิน ปุ๋ยคอก สารเคมี แรงงาน สามารถอธิบาย การเปลี่ยนแปลงผลิตผลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยระดับการใช้หน่อกล้วยหิน ปุ๋ยคอก และสารเคมี น้อยกว่า ระดับที่เหมาะสมทางเศรษฐกิจ จึงควรเพิ่มการใช้ปัจจัยทั้ง 3 ชนิด ในขณะที่ปัจจัยด้านแรงงาน มีระดับการใช้มากกว่า ระดับที่เหมาะสมทางเศรษฐกิจ จึงควรลดการใช้แรงงาน ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิต พบว่า เกษตรกรมีรายได้ทั้งหมด 22,240 บาทต่อไร่ต่อปีการผลิต ต้นทุนทั้งหมด 18,755 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิ 6,200 บาทและกำไรสุทธิ 3,485 บาทต่อไร่ต่อปีการผลิต ปัญหา และอุปสรรค ได้แก่ การเปลี่ยนการซื้อขายจากการนับหวีเป็น การชั่งน้ำหนัก ต่อมาได้แก่ การขาดการรวมกลุ่ม และภาครัฐสนับสนุนด้านการผลิตและการรวมกลุ่มยังมีน้อย

คำสำคัญ: กล้วยหิน, เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหิน, ต้นทุนและผลตอบแทน, ประสิทธิภาพของการใช้ปัจจัยการผลิต, ยะลา

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=759