ภิญโญมารค, ., จิตร์จำนงค์, ., กาญจนทัต, ., Pinyomark, <., Chitchamnong, ., & Karnchanathat, N. (2009, October 4). ธรรมชาติในกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย (พ.ศ. 2520 - 2547)
Nature in Thai Contemporary Poetry (1977 - 2004). Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 15(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=651.

ธรรมชาติในกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย (พ.ศ. 2520 - 2547)
Nature in Thai Contemporary Poetry (1977 - 2004)

กอบกาญจน์ ภิญโญมารค, ภาควิชาภาษาไทย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ดวงมน จิตร์จำนงค์, ภาควิชาภาษาไทย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นฤมล กาญจนทัต, ภาควิชาภาษาตะวันตก, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Kobkan Pinyomark, Department of Thai, Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla
Duangmon Chitchamnong, Department of Thai, Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla
Narumon Karnchanathat, Department of Western Languages, Faculty of Humanities and Social Sciences, Prin

Abstract

The objective of this research is to study contemporary poetry of outstanding worldviews on nature, shared by eight poets: Angkhan Kalayanaphong, Chang Sae Tang, Naowarat Phongphaibun, Potchana Chantharasanti, Phaiwarin Khao-ngam, Saksiri Meesomsueb, Raekham Pradoykham and Rewat Phanphiphat between 1977 and 2004. During this time, Thai society was in a state of flux, facing all kinds of serious problems especially natural disaster. These poets were committed to the task of spiritual awakening. Their common belief is that with the appreciation of virtuous life-nourishing nature and the realization of the union between humans and nature, neither spiritual nor natural destruction would ever occur. The only way to avoid crisis is to elevate human nature. The poets have firm conviction in an individual’s potential to create one’s own value and meaning within limited time. This can be done through opening one’s eyes to wisdom and truth from nature, especially the rule of the Three Signs of Being (Tilakkhana) which is not only “the knowledge” to halt the cultural decline leading to an individual and social ruin, but also the significant way toward spiritual survival. This “knowledge” relates to a metaphysical question - an approach to the supramundane (Lokuttara). The poets offer their profound worldviews to raise ethical awareness through aesthetic experience presented by artistic means. The Thai contemporary poetry, therefore, is a valuable indicator of the spiritual growth of the time, playing a crucial role in leading the audience to the righteous path while upholding humanity and nurturing world peace.

Keywords: contemporary Thai poetry, crisis, culture, nature, spirit

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษากวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย ที่มีจุดเด่นร่วมกันในด้านโลกทัศน์ต่อธรรมชาติ โดยพิจารณาผลงาน ของกวี 8 คน คือ อังคาร กัลยาณพงศ์ จ่าง แซ่ตั้ง เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ พจนา จันทรสันติ ไพวรินทร์ ขาวงาม ศักดิ์สิริ มีสมสืบ แรคำ ประโดยคำ และเรวัตร์ พันธ์พิพัฒน์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ถึง 2547 ซึ่งเป็นระยะที่สังคมไทยมีความผันผวน เปลี่ยนแปลงและเผชิญปัญหารุนแรงทุกด้าน โดยเฉพาะการประสบภาวะวิกฤตธรรมชาติ กวีได้รับภารกิจเป็นผู้ปลุก ความตื่นตัวทางปัญญา โดยแสดงทัศนะพ้องกันว่า หากเข้าถึงคุณค่าของธรรมชาติที่ค้ำจุนชีวิตและธำรงคุณธรรม ตลอดจนตระหนักในความเป็นหนึ่งเดียวของมนุษย์กับธรรมชาติ ย่อมไม่เกิดการบั่นทอนความดีงามในจิตวิญญาณ ไป จนถึงการทำลายล้างธรรมชาติ การยกระดับคุณสมบัติมนุษย์จึงเป็นทางออกเดียวที่จะรอดจากวิกฤต กวีเชื่อมั่นใน ศักยภาพของบุคคลว่า อาจรังสรรค์คุณค่าและความหมายแก่ชีวิตในเวลาจำกัดได้ด้วยตนเอง โดยเปิดดวงตาคือปัญญา เรียนรู้ความจริงจากธรรมชาติ โดยเฉพาะอนิจจังในกฎไตรลักษณ์ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็น “วิชชา” ที่แก้ไขสถานะตกต่ำของ วัฒนธรรม หรือนำปัจเจกและสังคมพ้นหายนะเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อทางรอดของจิตวิญญาณ เชื่อมโยงถึง ปัญหาในระดับอภิปรัชญาคือการไปสู่โลกุตร กวีมุ่งแสดงโลกทัศน์อันลุ่มลึก เพื่อกระตุ้นสำนึกทางจริยธรรม โดยมิได้ ละเลยการสื่อประสบการณ์ทางสุนทรียะด้วยวิธีการแห่งศิลปะ กวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัยจึงมีคุณค่าเป็นเครื่องบ่งชี้ความ เจริญทางปัญญาของยุค และมีบทบาทเหนี่ยวโน้มใจผู้รับให้ก้าวไปในครรลองที่ดีงาม เพื่อผดุงค่าความเป็นมนุษย์และ จรรโลงศานติสุขของโลก

คำสำคัญ: กวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย, จิตวิญญาณ, ธรรมชาติ, วัฒนธรรม, วิกฤต

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=651