อิสภาค, ., กิตติธรกุล, ., เพ็งเหมือน, ., Itsapak, <., Kittitornkool, J., & Pengmuen, S. (2008, March 18). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครัวเรือนในการจัดการมูลฝอย โดยเริ่มต้นจากโรงเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดโคกสมานคุณ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Development of a Learning Process of Solid Waste Management of Households Using a School as a Starting Point: A Case Study of Wad Khoke Samarnkhun School, Hat Yai District, Songkhla Province . Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 13(4). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=479.

การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครัวเรือนในการจัดการมูลฝอย โดยเริ่มต้นจากโรงเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดโคกสมานคุณ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Development of a Learning Process of Solid Waste Management of Households Using a School as a Starting Point: A Case Study of Wad Khoke Samarnkhun School, Hat Yai District, Songkhla Province

ใหมสุหรี อิสภาค, คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เยาวนิจ กิตติธรกุล, คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สนั่น เพ็งเหมือน, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Maisuree Itsapak, Faculty of Environmental Management,
Jawanit Kittitornkool, Faculty of Environmental Management, Prince of Songkla University
Sanan Pengmuen, Faculty of Education, Prince of Songkla University

Abstract

This action research adopted the qualitation research methodology with the objectives to study 1) patterns and steps of learning process in solid waste management of households by using a school as a starting point, 2) primary outcomes of the learning process in solid waste management of households by using a school as a starting point, 3) factors and conditions related to development of learning process in solid waste management of households by using a school as a starting point. The study area focused on Wad Khoke Samarnkhun school and two communities in the service areas : Choksarman and Ratanautich Communities, Hat Yai District, Songkhla Province. The sample groups derived from a purposive sampling including forty-eight core-team students, ten core-team teachers and a few core-team community leaders. The levels of knowledge, understanding, attitudes, behavior and participation in solid waste management among the sample groups are ranked from high to low as follows : 1) the core-team households. Projects concerning the solid waste management could not be carried out due to the unreadiness of the school and the communities. Factors contributing to the learning process are as follows: 1) the school factors, including support from the school principal, the school administrative structure, active participation of the core-team students and teachers, the school policy, 2) funding from a nongovernmental organization and; 3) the policy and support of Hat Yai Municipality. Obstructing factors include 1) limitation of urban communities, 2) lack of participation from urban communities, 3) inadequate knowledge of community leaders, and 4) economic and social constraints of the community and the core-team students’ households.

Keywords: household, learning process, school, solid waste management, Songkhla

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบ และขั้นตอนการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างการเรียนรู้ของครัวเรือนในการจัดการมูลฝอย โดยเริ่มต้นจากโรงเรียน 2) ผลเบื้องต้นของการจัดกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ของครัวเรือนในการจัดการมูลฝอย โดยเริ่มต้นจากโรงเรียน 3) เงื่อนไขและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเรียนรู้ของครัวเรือนในการจัดการมูลฝอย โดยเริ่มต้นจากโรงเรียน พื้นที่ศึกษา คือ โรงเรียนวัดโคกสมานคุณและชุมชนซึ่งตั้งอยู่ในเขตบริการของโรงเรียน อันได้แก่ ชุมชนโชคสมาน และชุมชนรัตนอุทิศ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย นักเรียนแกนนำ จำนวน 48 คน ครูแกนนำ จำนวน 10 คน และแกนนำชุมชน จำนวน 6 คน พบว่า ระดับการ เรียนรู้ ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ พฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในงานวิจัย มีผลการเรียนรู้เรียง ลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 1) นักเรียนแกนนำ 2) ครูแกนนำ 3) แกนนำชุมชน และ 4) ครัวเรือนในชุมชน และพบว่ากลุ่มดังกล่าวไม่สามารถดำเนินโครงการจัดการมูลฝอยในชุมชนต่อเนื่องได้ เนื่องจากโรงเรียนและชุมชน ยังไม่มีความพร้อม เงื่อนไขและปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของครัวเรือนในการจัดการมูลฝอย ได้แก่ 1) ปัจจัยที่ เกิดจากโรงเรียน ประกอบด้วย ความสนใจของผู้บริหารโรงเรียน นโยบายของโรงเรียน โครงสร้างทางอำนาจ ความร่วมมือของนักเรียนและครูแกนนำ 2) ปัจจัยสนับสนุนงบประมาณจากภายนอก 3) นโยบายและแผนพัฒนา ของเทศบาลนครหาดใหญ่ ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของครัวเรือนในการจัดการมูลฝอย โดยเริ่มต้นจากโรงเรียน ได้แก่ 1) ข้อจำกัดของชุมชนเมือง___ 2) การขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนเมือง 3) การขาด ประสบการณ์ของผู้นำชุมชน และ 4) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนนักเรียนแกนนำและชุมชน

คำสำคัญ: กระบวนการเรียนรู้, การจัดการมูลฝอย, ครัวเรือน, โรงเรียน, สงขลา

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=479