ดำอ่อน, ., ทองคำ, ., ดำชะอม, ., Dam-Orn, <., Thongkum, P., & Damcha-om, M. (2007, December 20). รูปแบบการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน :กรณีศึกษา โรงเรียนวัดเขาพระนิ่ม ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
A Promotion Model of School and Community Relations : A Case Study of Wat Khaopranim School, Tatong Subdistrict, Kanchanadit District, Surat Thani Province. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 13(3). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=453.

รูปแบบการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน :กรณีศึกษา โรงเรียนวัดเขาพระนิ่ม ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
A Promotion Model of School and Community Relations : A Case Study of Wat Khaopranim School, Tatong Subdistrict, Kanchanadit District, Surat Thani Province

นฤมล ดำอ่อน, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ปราณี ทองคำ, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มารุต ดำชะอม, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Naruemol Dam-Orn, Department of Education,Faculty of Education, Prince of Songkla University
Pranee Thongkum, Department of Education,Faculty of Education, Prince of Songkla University
Marut Damcha-om, Department of Education,Faculty of Education, Prince of Songkla University

Abstract

The purposes of this study were: 1) to create a model for promotion of school and community relations, 2) to study the results of such promotion, and 3) to study conditions and factors affecting such promotion. The leader group composed of 25 key persons. The samples group composed of 200 representatives. The findings were as follows: There were 5 stages in developing the model for school and community relations: creating ambience for community acceptance, brainstorming to explore common needs and directions, search for a model, presentation and application of the model, and conclusion and assessment. In organizing activities for promotion of school and community relations, it was found that the undertaking was possible because of the co-operation of every sector. Community member and other involve have satisfaction with all activities was also at a high level. The conditions and factors which supported the organized activities were the leadership of the school administrators, the school’s vision which emphasized participatory administration, the teachers’ co-operation, the community’s interest and collaboration, and the research methodology which emphasized participation. The obstacles were the teachers’ workload and the conflicting schedules of the key persons.

Keywords: basic education, participation, school administration, school and community relation

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 2) ศึกษาผลการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 3) ศึกษาเงื่อนไขปัจจัยที่มีต่อการเสริมสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน กลุ่มแกนนำในการสร้างรูปแบบการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน กับชุมชนได้จากพหุภาคีฝ่ายต่าง ๆ จำนวน 25 คน และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ กลุ่มประชาชนทั่วไปจำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบว่า การสร้างรูปแบบการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมี 5 ขั้นตอน คือการสร้างบรรยากาศการยอมรับของชุมชน การระดมความคิดเห็นเพื่อสำรวจความต้องการและหาแนวทางร่วมกัน การค้นหารูปแบบ การนำเสนอรูปแบบและการใช้รูปแบบ และการสรุปและประเมินผลการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ใน การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนพบว่า การดำเนินงานเกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในกิจกรรมการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน กลุ่มแกนนำ มีความพึงพอใจในรูปแบบและกิจกรรมการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนอยู่ในระดับมากทุก กิจกรรม เงื่อนไขและปัจจัยสนับสนุนการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนคือ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร โรงเรียน วิสัยทัศน์ของโรงเรียนที่เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม ความร่วมมือของครู ความสนใจและความร่วมมือ ของชุมชน และกระบวนการวิจัยที่เน้นการมีส่วนร่วม เงื่อนไขและปัจจัยอุปสรรค คือ ภาระงานของครู และเวลาว่าง ของกลุ่มแกนนำ

คำสำคัญ: การมีส่วนร่วม, การบริหารโรงเรียน, การศึกษาขั้นพื้นฐาน, ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=453