ทุ่งหว้า, ., มะแส, ., & เหมบัณฑิต, . (1970, January 1). วิวัฒนาการและรูปแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนชาวประมงทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 8(2). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=144.

วิวัฒนาการและรูปแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนชาวประมงทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง

ศิริจิต ทุ่งหว้า, ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อะแว มะแส, ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ยุคล เหมบัณฑิต, สำนักงานประมงอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการและรูปแบบของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนประมงทะเลน้อย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ดำเนินการศึกษาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ และการประเมินชนบทแบบเร่งด่วน (RRA) โดยใช้เทคนิคการเดินสำรวจสภาพพื้นที่และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้ให้ข่าวสารสำคัญและผู้สูงอายุแบบเจาะลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษาได้แบ่งวิวัฒนาการและรูปแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของชุมชนประมงทะเลน้อย เป็น 4 ช่วงเวลาคือ (1) ช่วงก่อน พ.ศ.2500 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนเป็นรูปแบบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการยังชีพเป็นหลัก รัฐมีมาตรการสงวนพื้นที่จำนวน 6,110 ไร่ เพื่อรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ (2) ช่วง พ.ศ.2500-2515 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนเปลี่ยนเป็นรูปแบบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างอิสระโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทั้งการยังชีพและการค้าควบคู่กัน ทำให้สภาพแวดล้อมบริเวณทะเลน้อยเริ่มเปลี่ยนแปลงไป (3) ช่วง พ.ศ.2516-2530 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนเป็นรูปแบบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสูงสุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าเป็นหลัก สภาพแวดล้อมรอบบริเวณทะเลน้อยเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว รัฐจำเป็นต้องใช้มาตรการอนุรักษ์ เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ (4) ช่วง พ.ศ.2531-ปัจจุบัน ชุมชนได้รับผลกระทบจากการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในช่วงที่ผ่านมา จึงมีการใช้รูปแบบจัดการทรัพยากรธรรมชาติพร้อม ๆ กันไปทั้งการสงวน การอนุรักษ์ การพัฒนา และการใช้ประโยชน์ เพื่อฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นอันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาว คำสำคัญ : การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ชุมชนชาวประมง, วิวัฒนาการ, รูปแบบ The main objective of this study was to investigate evolutionary patterns of natural resources management in Thale Noi fishing community. Qualitative inquiries were employed in the study. Data were collected by means of reviewing existing literature on historyo of the area and Rapid Rural Appraisal (RRA). RRA techniques employed included transect walk for mapping, observation, and indepth interview of key informants and elders using semi-structured questionnaire. Four evolutionary periods were found : (1) prior to 2500 B.E., natural resources were used mainly for subsistence livelihoods, with a state-preserved area of 6,110 rai for preserving aquatic animals; (2) 2500-2515 B.F., the resources utilization pattern appeared in the form of a combination of maximizing benefit from the resources and for commercial purposes; environmental pressures increased and the government began to introduce a conservation approach of resources management (4) 2531 B.E., -present, the community has been affected by severe resources degradation in the earlier period, a integrated management approach has been undertaken as an attempt to preserve the balance of nature. Keywords : Evolution, fishing community, natural resources and environment management, patterns

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=144