รักบิดา, ., พจนตันติ, ., ทองคำ, ., Rugbida, <., Portjanatanti, N., & Thongkum, T. (2009, May 10). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร ์ เทคโนโลยีและสังคมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Effects of Instructional Management according to the Science, Technology and Society Approach on Science Achievement, Problem-Solving Ability and Satisfaction of Mattayomsuksa Five Students. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 15(1). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=603.

ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร ์ เทคโนโลยีและสังคมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Effects of Instructional Management according to the Science, Technology and Society Approach on Science Achievement, Problem-Solving Ability and Satisfaction of Mattayomsuksa Five Students

อัมพวา รักบิดา,
ณัฐวิทย์ พจนตันติ, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิท
ทวี ทองคำ, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิท

Ampawa Rugbida,
Nathavit Portjanatanti, Department of Education, Faculty of Education, Prince of Songkla University
Thawee Thongkum, Department of Educational Measurement and Evaluation, Faculty of Education, Prin

Abstract

This research aimed to study the effects of instructional management according to the Science, Technology and Society Approach on science achievement, problem–solving ability satisfaction and learning behaviour of Mattayomsuksa Five students. The subjects were 32 Mattayomsuksa Five students in the second semester of the 2005 academic year from Plaipraya-Wittayakom School, Amphur Plaipraya, Krabi Province, all of which were purposively selected. They were instructed by using the Science, Technology and Society Approach for 21 hours. The research instruments consisted of lesson plans on Heat, achievement test, problem-solving ability test, students’ satisfaction test, observation, interviewing and fieldnotes. The research design was group pretestposttest design. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test for dependent group and content analysis . The study found that (1) the students’ achievement was significantly higher on the post-test than pretest (p<.01); (2) the students’ problem-solving ability was significantly higher on the post-test than pretest (p<.01); (3) the students’ satisfaction was at high level; and (4) the students had a student-centered learning behaviour, had an ability to seek knowledge by themselves, an ability to plan for solving the problem step by step, an ability to present new finding to others, an ability to apply knowledge in everyday life and happily learn to help each other in studying and problem solving.

Keywords: learning behaviour; problem-solving ability, satisfaction, science achievement, Science Technology and Society

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมต่อผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ความพึงพอใจและพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 5 กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน ปลายพระยาวิทยาคม อำเภอปลายพระยา จังหวัด กระบี่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 1 ห้องเรียนรวม 32 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มที่ศึกษาได้รับ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร ์ เทคโนโลยี และสังคม ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 21 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความร้อน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหา แบบวัดความพึงพอใจ การสังเกต สัมภาษณ์ และบันทึกภาคสนาม ดำเนินการทดลองตามแบบ แผนการวิจัยแบบ One Group Pretest - Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ ทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนมีความสามารถในการคิด แก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความ พึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก และ 4) นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้โดยนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนสามารถเสาะแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถวางแผนแก้ปัญหาได้อย่างมีลำดับขั้นตอน สามารถนำเสนอ สิ่งที่ตนค้นพบให้ผู้อื่นเข้าใจได้ นักเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียนรู้จักการช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันในการเรียนและการแก้ปัญหาอย่างมีความสุข

คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม, ความพึงพอใจ, ความสามารถในการ คิดแก้ปัญหา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์, พฤติกรรมการเรียนรู้

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=603