กิตติพล นวลทอง, ., นวลจิรา ภัทรรังรอง, .,
Nida Wuthiwai, ., Naratip Jansakul, ., & and Weranut Nilnond, N. (2006, February 11). กระบวนการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ พื้นฐาน 1 โดยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบร่วมมือและระบบพี่เลี้ยง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Cooperative Learning and Mentor System Approach in Basic Mathematics I Faculty of Science, Prince of Songkla University. Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities [Online], 11(4). Available: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=330.

กระบวนการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ พื้นฐาน 1 โดยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบร่วมมือและระบบพี่เลี้ยง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Cooperative Learning and Mentor System Approach in Basic Mathematics I Faculty of Science, Prince of Songkla University

นิดา วุฒิวัย กิตติพล นวลทอง,
นราทิพย์ จั่นสกุล, นวลจิรา ภัทรรังรอง,
และ วีระนุช นิลนนท์
Nida Wuthiwai,
Kitipol Nualtong, Naratip Jansakul,
Nuanjira Phatthararangrong and Weranut Nilnond,

Abstract

The purposes of this study are to investigate the learning improvement in Basic Mathematics 1 of 1st year students after using a cooperative learning and mentor system (CLMS), and to explore the attitudes of the teacher, the student group, and the mentors to the CLMS Program. The research method is “Quasi – Experimental Design”. 45 students under the Project for the Promotion of Science and Mathematics Talented Teachers (PSMT) participated as the experimental group in the CLMS class and another 56 physical science students attended the traditional teaching class (comparative group). Results from the study show that the improvement score made by the experimental group was significantly higher than that made by the traditional group. The attitudes of the participants also revealed a very positive opinion towards the new technique. It creates opportunities for students to express and exchange opinions and allows for group brain-storming. Students really enjoyed learning and this resulted in more cooperation among them. The role of the mentors is not only to assist students academically, but also to provide advice to students in their daily life. Moreover, students also encouraged the use of CLMS in other courses, together with the traditional methods. They thought that would reinforce their efficiency in learning and understanding lessons.

Keywords: Cooperative learning, Mentor system, Higher education, Mathematics, Student

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อ ศึกษาผลการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน1 โดยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบร่วมมือ และระบบพี่เลี้ยง โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน1 ของนักศึกษาที่ได้รับการเรียนการสอนแบบร่วมมือและระบบพี่เลี้ยงกับการสอนแบบบรรยาย 2) ศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอน นักศึกษากลุ่มทดลองและนักศึกษาพี่เลี้ยงต่อกระบวนการเรียนการสอนแบบร่วมมือและระบบพี่เลี้ยง วิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มทดลองได้แก่ นักศึกษาโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามรถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค) ชั้นปีที่ 1 จำนวน 45 คน กลุ่มเปรียบเทียบได้แก่นักศึกษากลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ จำนวน 56 คน ผลการวิจัย 1) กลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานคะแนนพัฒนาการสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) อาจารย์ผู้สอน นักศึกษากลุ่มทดลอง และนักศึกษาพี่เลี้ยงมีเจตคติที่ดีและประทับใจต่อการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ผู้เรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กล้าแสดงออก ช่วยกันคิดช่วยกันทำ สนุกและเรียนอย่างมีความสุข การเรียนการสอนระบบนี้มีประโยชน์และควรจัดให้มีในรายวิชาอื่นๆควบคู่ไปกับการเรียนการสอนแบบบรรยาย นักศึกษาพี่เลี้ยงจะช่วยอาจารย์ผู้สอนในการให้คำปรึกษา ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจบทเรียนมากขึ้น รวมทั้งได้แนะนำการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยที่ถูกต้อง

คำสำคัญ การเรียนการสอนแบบร่วมมือ นักศึกษา ระบบพี่เลี้ยง วิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัย

Full Text: PDF




Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.

Original article at: https://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/psuhsej/viewarticle.php?id=330