Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 7, No. 3 (2001) open journal systems 


ปัญหาจิตสังคมของผู้ต้องขังสตรีในทัณฑสถานหญิงจังหวัดสงขลา

พิไลรัตน์ ทองอุไร, ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาจิตสังคมของผู้ต้องขังสตรีในทัณฑสถานหญิงจังหวัดสงขลา โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจงคือ ผู้ต้องขังสตรีจำนวน 400 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์จำนวน 378 ราย (97.75%) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละ และเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์โดยใช้ค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ต้องขังสตรีส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคใต้ตอนล่าง อายุระหว่าง 26-34 ปี นับถือศาสนาพุทธและอยู่ในทัณฑสถานนาน 2-5 ปี ปัญหาจิตสังคมที่พบมากที่สุดคือ ความรู้สึกคิดมากและกังวล รองลงมาคือ การตำหนิโทษตัวเอง/การคิดว่าตนเองผิดบาป การคิดว่าตัวเองไม่มีค่า ความรู้สึกหงุดหงิด เบื่อ เศร้า หดหู่ใจ และความกังวลเกี่ยวกับการยอมรับทางสังคม ตามลำดับ ผู้ต้องขังส่วนใหญ่คิดว่าโทษที่ตนได้รับเหมาะสมแล้ว และมีกำลังใจที่จะสู้ชีวิตต่อไป ส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างฝึกฝนอาชีพ สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือ ต้องการกลับบ้าน ผู้ต้องขังส่วนใหญ่ประเมินสุขภาพของตนเองอยู่ในระดับปานกลางและได้รับการตรวจสุขภาพน้อยครั้ง ขณะต้องโทษ ผู้ต้องขังส่วนใหญ่มีเพื่อนจำนวนปานกลาง เมื่อมีปัญหาขณะต้องโทษ ก็ต้องช่วยเหลือตนเอง อายุ ศาสนา ระยะเวลาที่ต้องโทษและความรู้สึกต่อตนเองมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับปัญหาจิตสังคมของผู้ต้องขัง คำสำคัญ : ทัณฑสถานหญิงจังหวัดสงขลา, ปัญหาจิตสังคม, ผู้ต้องขังสตรี This research explored the psychosocial problems of female inmates in Songkhla’s Prison. Through purposive sampling, 400 inmates were selected. In collecting the data, a questionnaire and interview schedule were used; 378 completed questionnaires (97.75%) were obtained. Frequency, percentages and chi-square were used in data analysis, It was found that most inmates were Buddhists, aged 26-34. Most of the resided in the tower South of Thailand, and had been in prison for 2-5 years. Their psychosocial problems were anxiety; self-condemnation; self-depreciation; irritation; boredom; grief; depression; and worry about social acceptance, respectively. Most of them thought the punishment they received was justifiable, but they were determined to live, They spent leisure for occupational training, and what they wanted most was to return home. The perception of their own health status was at a moderate level; they rarely received medical check-up. While in prison, most of them had a few friends, and had to cope with difficulties by themselves. However, they expected that after they were released, they would not be discriminated against by the society. In addition, the inmates’ age, religion, term of imprisonment, and self-conception were found to correlate significantly with their psychosocial problems. Keywords : female inmates, psychosocial problems, Songkhla’s Prison


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548