Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 17, No. 5 (2011) open journal systems 


การวิเคราะห์พระสมัญญานามของพระพุทธเจ้าในคัมภีร์พระพุทธศาสนาและในวรรณคดีพระพุทธศาสนา
An Analysis of Antonomasias of Lord Buddha in Buddhist Scriptures and in Buddhist Literatures


บุญเลิศ วิวรรณ์, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
โกวิทย์ พิมพวง, ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิไลศักดิ์ กิ่งคำ, คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Boonlert Wiwan, Faculty of Humanities and Social Sciences Nakhon Sawan Rajabhat University
Kowit Pimpuang, Department of the Thai Language, Faculty of Humanities, Kasetsart University
Wilaisak Kingkham, Faculty of Humanities, Kasetsart University


Abstract
There are 46 antonomasias of Lord Buddha in the Buddhist scriptures in which were called any Lord Buddhas. There are 14 of these which were dubbed by the Lord Buddha himself and there 32 of the antonomasias very antonomasias were dubbed by other ones. Using the words not much, without the titles, without the postscripts the wordsadded for euphony. The word forms included the noun form, suffixed noun form and suffixed verb form. There are the terminologies into the compound and the combination of initial and final words into a compound words, the number of fewest syllables are 2 and not more than 5 syllables, their main meanings related implitly to the head, president and leade. The antonomasias of Lord Buddha which have appeared into 10 stories of Buddhist literature revealed that 276 antonomasias of those are for the present Lord Buddha which the main words have derived from Buddhist scriptures and are created by poets. The structures of word were derived from Pali, Sanskrit, Thai and Cambodian languages. The structures of noun phrase, that are noun + adjective which are divied into two sections : noun and adjectives in which have the writing in the naration style including 3-57 syllables and their meanings related mostly to the sage and enlightened person. Antonomasias of the Lord Buddha which influenced on the King’s names from the former times until the present times are as follows : Adiccapandhu, Dhammaraja, Dhammasami, Lokanatha, Sappanyu, Buddha, Lokanayaka, Nayaka and Lokajettha and which influenced on the Thai Buddhist monk’ s titles from the former times until the present times, they are as follows : Dhammaraja, Gotama, Buddha, Mahamuni and Nayaka.

Keywords: antonomasias of the Lord Buddha, Buddhist Literatures, Buddhist Scriptures

บทคัดย่อ
พระสมัญญานามของพระพุทธเจ้าในคัมภีร์ พระพุทธศาสนา มี 46 พระสมัญญานาม โดยใช้กับ พระพุทธเจ้าแทบทุกพระองค์ และใช้เป็นพระสมัญญา นามพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน แบ่งเป็นพระสมัญญา นามที่พระพุทธเจ้าทรงขนานพระนามด้วยพระองค์ เอง 14 พระสมัญญานาม และบุคคลอื่นขนานพระนาม ให้ 32 พระสมัญญานาม ลักษณะของถ้อยคำจะใช้ จำนวนคำน้อย ไม่มีคำนำหน้าพระนาม ไม่มีคำลงท้าย และไม่มีสร้อยพระนาม รูปศัพท์มีทั้งศัพท์นามนาม ศัพท์นามกิตก์ ศัพท์กิริยากิตก์ มีวิธีสร้างคำแบบสมาส และสนธิ มีจำนวนพยางค์น้อยที่สุด 2 พยางค์ มาก ที่สุด 5 พยางค์ มีความหมายหลักเกี่ยวกับความเป็น ใหญ่ เป็นประธาน หรือเป็นผู้นำมากที่สุด ส่วนพระสมัญญานามของพระพุทธเจ้าในวรรณคดีพระพุทธ ศาสนา 10 เรื่อง พบว่า มีพระสมัญญานามของ พระพุทธเจ้า 276 พระสมัญญานาม ใช้เฉพาะ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน โดยมีคำหลักมาจากคัมภีร์ พระพุทธศาสนา และสร้างขึ้นเองโดยกวีผู้แต่งมี โครงสร้างคำมาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษา ไทย และภาษาเขมร มีโครงสร้างนามวลี คือ คำนาม +คำคุณศัพท์ แบ่งเป็น 2 วรรค คือวรรคนาม และวรรค สร้อยพระนาม พระสมัญญานามมีลักษณะคล้ายคำ ประพันธแ์ บบรา่ ย มีจำนวนพยางคต์ ั้งแต  3-57 พยางค ์ มีความหมายเกี่ยวกับพระผู้มีพระปัญญาผู้รู้แจ้งด้วย พระองค์เองมากที่สุด ค่านิยมของพุทธศาสนิกชนที่มี ต่อพระสมัญญานามของพระพุทธเจ้า ส่งผลต่อการ นำไปใช้ในการขนานพระปรมาภิไธยของพระมหา กษัตริย์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันคือ อาทิจฺจพนฺธุ ธมฺม ราช ธมฺมสฺสามิ โลกนาถ สพฺพญฺญู พุทฺธ โลกนายก นายก และ โลกเชฏฺฐ และส่งผลต่อการตั้งราชทินนาม สมณศักดิ์พระสงฆ์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ ธมฺมราช โคตม พุทฺธ มหามุนิ และนายก

คำสำคัญ: พระสมัญญานามของพระพุทธเจ้า, วรรณคดีพระพุทธศาสนา, คัมภีร์พระพุทธ ศาสนา


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548