|
กลยุทธ์การพัฒนาและการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายวิจัยการศึกษา : ภาคใต้ตอนบน Strategies for Developing and Driving the Development of Students Desired Characters Using Educational Research Network: Upper Southern Part
|
วสันต์ อติศัพท์, ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณิตา นิจจรัลกุล, ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชิดชนก เชิงเชาว์, ภาควิชาการประเมินผลการศึกษาและการวิจัย,คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาฟีฟี ลาเต๊ะ, ภาควิชาการประเมินผลการศึกษาและการวิจัย,คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บุญญิสา แซ่หล่อ, ภาควิชาการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สนั่น เพ็งเหมือน, ภาควิชาการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วัฒนะ พรหมเพชร, ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปรมวดี โกมลตรี, เทคโนโลยีการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Wasant Atisabda, Department of Educational Technology, Faculty of Education, Prince of Songkla Un Kanita Nitjarunkul, Department of Educational Technology, Faculty of Education, Prince of Songkla Un Chidchanok Churngchow, Department of Educational Evaluation and Research, Faculty of Education, Prince Afifi Lateh, Department of Educational Evaluation and Research, Faculty of Education, Prince Bunyisa Saelo, Department of Education, Faculty of Education, Prince of Songkla University Sanan Pengmuan, Department of Educational Psychology, Faculty of Education, Prince of Songkla Un Wattana Prohmpetch, Department of Educational Psychology, Faculty of Education, Prince of Songkla Un Premwadee Komontree, Faculty of Education, Prince of Songkla University |
Abstract
The purpose of research was to study strategies for developing and driving the development of
students desired characters using educational research network: upper southern part, Thailand. This
research is research and development. Studying the navigate school in Upper Southern, Thailand, 2007, 8
provinces, 10 schools. There were 2,417 students, 3,258 students parent, 23 administrators, 228 teachers, 3
researchers of province level, 8 researchers of regional level and 7 supervisors of the educational service
area office. The instrument of this research is questionnaire to measure characters level that has validity
between 0.95-0.98. The data was used both of the statistical analysis and content analysis. The findings were
as follows: 1) The developments of character education innovation are moral character, social character, and
learning character in multiple models. 2) After integration these three characters education innovations in instruction and co-curriculum activity, they were enable: 2.1) the student and classmate to be self awareness and valuing, 2.2) teachers and parent were awareness and valuing toward the development students desired
character, and 2.3) administrator, teacher, parent, student, student classmate and researcher in local education
research network level have got an empowerment in developing students desired character from research
team of regional education research network level in higher education institutes. 3) The higher education
institutes of regional and provincial education research network level and the local education research
network level have searched strategies, plan to developing and driving strategies with empowerment to
develop students desired characters which strongly promote the education research network.
Keywords: desired characters, educational research network, empowerment, strategies for development,
strategies for driving
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การพัฒนาและการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณลักษณ์ที่
พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายวิจัยการศึกษา : ภาคใต้ตอนบน การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา
ทำการศึกษากับโรงเรียนนำร่องในภาคใต้ตอนบน ปีการศึกษา 2550 จำนวน 8 จังหวัด รวม 10 โรงเรียน นักเรียน
2,471 คน ผู้ปกครองของนักเรียน 2,258 คน ผู้บริหาร 23 คน และครูนักวิจัยจำนวน 228 คน นักวิจัยเครือข่ายระดับ
จังหวัด 3 คน นักวิจัยเครือข่ายระดับภูมิภาคสถาบันอุดมศึกษาในโครงการ จำนวน 8 คน ผู้บริหารจากสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสำหรับวัดระดับคุณลักษณ์ มีค่าความเที่ยง
ระหว่าง 0.95-0.98 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ทั้งวิธีทางสถิติและการวิเคราะห์เนื้อหา กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณ์
ที่พึงประสงค์ของนักเรียนมีผลการวิจัย ดังนี้ 1) มีการพัฒนานวัตกรรมคุณลักษณ์ศึกษาด้านคุณธรรม ด้านสังคม
ด้านการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและมีรูปแบบหลากหลาย 2) ภายหลังการใช้นวัตกรรมคุณลักษณ์ศึกษาทั้ง 3 ด้าน
บูรณาการในกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรทำให้ 2.1) นักเรียนเกิดความตระหนักและเห็น
คุณค่าของการพัฒนาตนเองด้านคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนและเพื่อนนักเรียน 2.2) ครูและผู้ปกครอง
เกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการพัฒนาคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนอย่างมีทิศทางโดยมีส่วนร่วม
ในการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนทั้งในและนอกห้องเรียนและที่บ้านที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณ์ที่กำหนด
ในด้านคุณธรรม ด้านสังคม ด้านการเรียนรู้ และ 2.3) ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง นักเรียน เพื่อนนักเรียน และนักวิจัย
เครือข่ายระดับจังหวัดและท้องถิ่นได้รับการเสริมพลังอำนาจในการพัฒนาคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียน
จากทีมวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายวิจัยการศึกษาระดับภูมิภาค และ3) สถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายวิจัย
การศึกษาระดับภูมิภาค สถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายวิจัยการศึกษาระดับจังหวัด และสถานศึกษาเครือข่ายวิจัย
การศึกษาระดับท้องถิ่นร่วมแสวงหากลยุทธ์ วางแผนการพัฒนา และกลยุทธ์การขับเคลื่อนด้วยการเสริมพลัง
อำนาจการพัฒนาคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนทำให้เกิดเครือข่ายวิจัยการศึกษาที่เข้มแข็ง
คำสำคัญ: กลยุทธ์การขับเคลื่อน, การเสริมพลังอำนาจ, คุณลักษณ์ที่พึงประสงค์, เครือข่ายวิจัยการศึกษา
|
|
|