Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 17, No. 3 (2011) open journal systems 


ความไว้วางใจทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้: ศึกษาเปรียบเทียบพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่และเทศบาลเมืองปัตตานี
Political Trust and Participation of People in Cultural Diversities Area: A Comparative Study of Hatyai and Pattani Municipalities


ดนุวัศ สุวรรณวงศ์, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Danuvat Suwanvong, Faculty of Management Sciences, Prince of Songkla University
Bussabong Chaijaroenwatana, Faculty of Management Sciences, Prince of Songkla University


Abstract
The purpose of this study was to investigate the levels of political trust and participation of people in cultural diversities area by comparing political trust and participation of people living in Hatyai and Pattani Municipalities. The data were collected using a questionnaire, and analyzed using percentage, mean, and standard deviation to explore the relationships between political trust and participation. Regression analysis was carried out to investigate factors affecting political trust and participation, and t-test was employed to compare the levels between political trust and political participation of people in areas of cultural diversity, namely, Hatyai and Pattani Municipalities. The results of the study revealed that regarding political trust, when compared between Hatyai and Pattani Municipalities, the levels of political trust of people in the two areas were not different, and the overall levels were at a moderate level. When compared by item, the level of each item was at the same level which was a moderate level for all items, namely, trust in the municipal policy, trust in the municipal work process, trust in persons in the municipality, and trust in the municipal work system. Regarding political participation, when compared between Hatyai Municipality and Pattani Municipality, it was found that the levels of political participation in the two areas were not different, and the overall levels for the two areas were at a low level. When compared by item, the level of each item in the two areas was at the same level which was a moderate level for participation in elections, and participation in activities organized by the municipalities. For the levels of participation in municipal administration, and participation in demonstrations, protests or petitions for justice were at the same level which was a low level.The overall relationships between political trust and participation in Hatyai Municipality and those in Pattani Municipality were the same. The factors affecting political trust of people in Hatyai and Pattani municipalities were: social capital, political communication, and political mobilization. Factors in political attitudes affected political trust of people in Hatyai Municipality only while political knowledge affected political trust of people in Pattani Municipality only. The factors affecting participation of people in Hatyai and Pattani Municipalities were: political mobilization and political attitudes. Factors in income and political communication affected political participation of people in Hatyai Municipality only while religious factors and educational factors affected political participation of people in Pattani Municipality only.

Keywords: political communication, political mobilization, political participation, political trust, social Capital

บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความไว้วางใจทางการเมืองและระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชนในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ และพื้นที่เทศบาลเมืองปัตตานี โดยใช้แบบสอบถามในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความไว้วางใจทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมือง การวิเคราะห์ ถดถอยพหุคูณแบบการเข้า เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความไว้วางใจทางการเมืองและระดับการมีส่วนร่วม ทางการเมือง และการวิเคราะห์ t-test เพื่อเปรียบเทียบระดับความไว้วางใจทางการเมืองและระดับการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ระหว่างเทศบาลนครหาดใหญ่และ เทศบาลเมืองปัตตานี ผลการศึกษาพบว่า ระดับความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชน เมื่อทำการเปรียบเทียบ ระหว่างพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่และพื้นที่เทศบาลเมืองปัตตานี พบว่า ระดับความไว้วางใจทางการเมืองของทั้ง 2 พื้นที่ไม่มีความแตกต่างกัน และโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเหมือนกัน ส่วนรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เหมือนกัน ทั้งความไว้วางใจด้านนโยบายเทศบาล ความไว้วางใจด้านกระบวนการทำงานของเทศบาล ความไว้วางใจ ด้านตัวบุคคลในเทศบาล และความไว้วางใจด้านระบบการทำงานของเทศบาล ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนเมื่อเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่และพื้นที่เทศบาลเมืองปัตตานี พบว่า ระดับการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของทั้ง 2 พื้นที่ไม่มีความแตกต่างกัน และโดยภาพรวมอยู่ในระดับตํ่าเหมือนกัน ส่วนรายด้านอยู่ใน ระดับปานกลางเหมือนกันในด้านการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งและด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของเทศบาล ส่วน ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของเทศบาลและด้านการมีส่วนร่วมในการประท้วง ต่อต้าน หรือร้องเรียนเพื่อ ความเป็นธรรม อยู่ในระดับตํ่าเหมือนกัน ด้านความสัมพันธ์ของความไว้วางใจทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทาง การเมือง ทั้งพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่และพื้นที่เทศบาลเมืองปัตตานี พบว่า ความไว้วางใจทางการเมืองและ การมีส่วนร่วมทางการเมือง มีความสัมพันธ์ในภาพรวมเหมือนกันทั้ง 2 พื้นที่ ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความไว้วางใจ ทางการเมืองของประชาชนทั้งในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่และพื้นที่เทศบาลเมืองปัตตานี คือ ปัจจัยด้านต้นทุน ทางสังคม ปัจจัยด้านการสื่อสารทางการเมือง และปัจจัยด้านการระดมทางการเมือง ส่วนปัจจัยด้านทัศนคติทาง การเมืองมีอิทธิพลต่อความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนเฉพาะในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ และปัจจัยด้าน ความรู้ทางการเมืองมีอิทธิพลต่อความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนเฉพาะในพื้นที่เทศบาลเมืองปัตตานี ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนทั้งในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่และพื้นที่เทศบาล เมืองปัตตานี คือ ปัจจัยด้านการระดมทางการเมืองและปัจจัยด้านทัศนคติทางการเมือง ส่วนปัจจัยด้านรายได้และ ปัจจัยด้านการสื่อสารทางการเมือง มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเฉพาะในพื้นที่เทศบาล นครหาดใหญ่ ส่วนปัจจัยด้านศาสนาและปัจจัยด้านการศึกษามีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เฉพาะในพื้นที่เทศบาลเมืองปัตตานี

คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การระดมทางการเมือง, การสื่อสารทางการเมือง, ความไว้วางใจทางการเมือง, ต้นทุนทางสังคม


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548