Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 8, No. 1 (2002) open journal systems 


ผลของวิธีสอนแบบโครงการต่อเจตคติ ความพึงพอใจ คุณลักษณะอื่นและระดับผลการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ธีรพงศ์ แก่นอินทร์, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับเจตคติต่อการเรียนการสอน ระดับความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน ระดับคุณลักษณะอื่น ระดับผลการเรียน พฤติกรรมโดยทั่วไปของนักศึกษา บรรยากาศการเรียนการสอนและปัญหาการเรียนการสอนที่เกิดจากการเรียนการสอนด้วยวิธีสอนแบบโครงการ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 จำนวน 23 คน วิชาเอกประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีการศึกษา 2543 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบวัดเจตคติต่อการเรียนการสอน แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน แบบสอบถามคุณลักษณะอื่นของนักศึกษา และบันทึกหลังการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS (version10) เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า เจตคติต่อการเรียนการสอนโดยรวมของนักศึกษาอยู่ในระดับเห็นด้วย ความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยรวมของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก ระดับคุณลักษณะอื่นที่พึงประสงค์ของนักศึกษาที่เกิดขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับมาก นักศึกษาทุกคนได้ผลการเรียนระดับดีมาก (A) โดยทั่วไปนักศึกษาร่วมกิจกรรมในขั้นตอนเป็นอย่างดี บรรยากาศการเรียนการสอนเป็นไปในลักษณะที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน และไม่มีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นในการเรียนการสอน คำสำคัญ : ความพึงพอใจ, คุณลักษณะอื่น, เจตคติ, นักศึกษาระดับปริญญาตรี, ระดับผลการเรียน, วิธีสอนแบบโครงการ The objectives of this research were to investigate the levels of attitudes towards instruction, the levels of satisfactions towards instruction, the levels of other characteristics, grade levels, general behaviors of students, instructional atmospheres and problems offected by project method. The samples were 23 third-year undergraduates majoring in elementary education, Faculty of Education, Prince of Songkla University, in the academic year 2000. Data collection instruments were attitudes scales, satisfactions scales, other characteristics questionnaires, and the diary, Data were analyzed by using the SPSS (Version 10) to compute arithmetic means, standard deviation and the t-test. The results showed that the students’ overall attitudes towards instruction were at a level of agreement. The students’ overall attitudes towards instruction were at a level of agreement. The students’ overall satisfactions towards instruction were at a high level. Overall, the students’ other characteristics were at a high level. Every student got grade A. The students participated in instructional activities well. The instruction atmospheres were supportive, and there were no instructional problems. Keywords: attitudes, grade levels, other characteristics, project method, satisfactions, undergraduate students


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548