Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 17, No. 2 (2011) open journal systems 


โนรา: สัญลักษณ์ พิธีกรรม อัตลักษณ์คนใต้รอบลุ่มทะเลสาบสงขลายุคโลกาภิวัตน์
Nora : Symbols, Rituals, Southern Thai Identity Around Songkhla Lake in the Globalization Era


นภสมน นิจรันดร์, ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Napasamon Nitjaran, Department of Sociology and Anthropology, Faculty of Humanities, Ramkhamhaeng Un


Abstract
This research is a study of myth, ritual and symbols involving in “Nora Rong Krue Ritual” and life style of a group of Southern Thai who live around Songkhla Lake. It also includes the study of changes in the performance of Nora in the globalization era. Research methodologies employed are documentary and field work, i.e., participant observation of the “Nora Rong krue” in Songkhla area and indepth-interview of leaders of Nora groups, their members, local intellectuals and the hosts of Nora Rong Krue and their relatives. The study found that the belief in Nora myth and the rite of ancestral worship are the central foci of Nora Rong Krue. The ritual is to demonstrate people’s respect toward their ancestors who are remembered as “Ta-Yai Nora” (Grand-pa and Grand- ma Nora) who present themselves through the mediums. During the ritual, Southern Thai Identity is observed through the performance and specific symbols emphasizing the power of ancestors and the control of kins and family members. This ritual also provides an occasion of reunion of those with the same believes, and gives them group spirit and identity of the Southern Thai. Finally, globalization has affected the performance of Nora differently. Three categories are identified; a) Nora group with high adaptation and high remodeling, b) Nora group with the combination of the old and the new, and c) the group that maintain the old tradition. Till the present time Nora Rong Krue has survived and still represents the identity of Southern Thai around Songkhla Lake area. It provides other Noras with their sacred origin and aspiration into the future.

Keywords: globalization, identity, Nora, symbols and rituals

บทคัดย่อ
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการดำรงอยู่ของโนราซึ่งแสดงอัตลักษณ์ชาวใต้ สัญลักษณ์และการให้ความหมายต่างๆ ใน พิธีโนราโรงครู ตลอดจนพลวัตการปรับตัวของการแสดงโนราท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ สำหรับระเบียบวิธีวิจัย ใช้วิธีการค้นคว้าจากเอกสารประกอบกับการวิจัยเชิงคุณภาพ คือการสังเกตแบบมีส่วนร่วมใน พิธีโนราโรงครูในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลาและการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการแสดง โนรา อาทิ หัวหน้าคณะโนราและสมาชิก นักวิชาการท้องถิ่น เจ้าภาพพิธีโนราโรงครูและญาติพี่น้อง เป็นต้น ผลการศึกษา พบว่า ความเชื่อจากตำนานโนราผสมผสานกับความเคารพต่อผีบรรพบุรุษในสายตระกูลกลายเป็น ต้นตอแห่งการประกอบพิธีโนราโรงครูของชาวใต้ตั้งแต่อดีตเรื่อยมาถึงปัจจุบัน พิธีโนราโรงครูมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ ลูกหลานได้แสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่เรียกว่า “ตายายโนรา” โดยอาศัยร่างทรงและโนราเป็นตัวกลาง มีการให้ความหมายและใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของคนใต้ในการสืบทอดอำนาจและการจัดการทาง เครือญาติโดยมีบรรพบุรุษเป็นศูนย์กลาง และยังเป็นปัจจัยต่อการรวมตัวของผู้ที่มีความเชื่อความศรัทธาเหมือนกัน ได้มาแสดงตัวตนร่วมกันในพิธีโนราโรงครูชุมชน นอกจากนี้ด้วยการเปลี่ยนแปลงในสังคมสามารถแบ่งลักษณะ ของโนราในยุคโลกาภิวัตน์ได้ 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มที่มีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงสูง 2) กลุ่มที่มีการผสมผสาน ระหว่างของเก่ากับของใหม่ 3) กลุ่มที่ปฏิเสธสิ่งแปลกใหม่ อนุรักษ์ไว้ซึ่งของเก่าตามแบบฉบับดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม โนราโรงครูยังดำรงอยู่และบ่งบอกอัตลักษณ์ของชาวใต้บริเวณทะเลสาบสงขลา เป็นต้นแบบของโนราประเภทต่างๆ ในปัจจุบันและอนาคตสืบไป

คำสำคัญ: โนรา, โลกาภิวัตน์, สัญลักษณ์และพิธีกรรม, อัตลักษณ์


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548