|
การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของแกนนำชุมชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแบบบูรณาการ: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
|
รัชดา บุญแก้ว, โครงการรักษ์ป่าสร้างคน 84 ตำบลวิถีพอเพียง โดยบริษัท ปตท. และภาคเครือข่าย เยาวนิจ กิตติธรกุล, คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เสาวลักษณ์ รุ่งตะวันเรืองศรี, คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Rachada Boonkeaw, 84 Tambons on a Sufficient Path Project by PTT Public Company and Network Organi Jawanit Kittitornkool, Faculty of Technology and Environment, Prince of Songkla University Saowalak Roongtawanreongsri, Faculty of Environmental Management, Prince of Songkla University |
Abstract
This action research aims to 1) develop a learning process for core team community members to
mobilize the integrated environmental management; 2) study primary outcomes of the development, and
3) factors contributing to and obstructing the development. The study area covers 7 communities in Prik
municipal area, Sadao District, Songkhla Province. The research team is comprised of 3 parties, including
the researcher, 2 core team community members from each community, and 2 municipal officials whose
work is related to the environment. The target group is 40 core team community members.
The learning process could develop the understanding, knowledge, attitudes and skills of the target
groups to be community leaders in mobilizing the integrated environmental management approaches in
their communities. Four related environmental management projects and activities were initiated :
1) a workshop for training facilitators, 2) campaigns for garbage separation projects in the communities,
3) producing multi-purpose compost liquid and organic vegetable growing, and 4) the clear water in a
beautiful canal project. Consequently, the target group developed proper garbage management behaviors
with greater understanding of the community problems, and the capabilities of integrated planning for
development activities. The learning outcomes were expanded to the households, communities, schools and
local authorities. Factors facilitating the process are : community capital, support from the municipality and
other funding agencies, as well as the strong leadership in some communities. The obstructing factors
include political conflicts in the communities caused by the municipal election and the core-team members
time constraints.
Keywords: community environmental management, learning process, Prik municipality, Songkhla, teamcommunity members
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของแกนนำชุมชนในการขับเคลื่อน
การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนแบบบูรณาการ 2) ศึกษาผลเบื้องต้นในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของแกนนำ
ชุมชน 3) ศึกษาปัจจัยที่เอื้อและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของแกนนำชุมชน พื้นที่ศึกษาคือ
ชุมชนทั้ง 7 ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มีผู้ร่วมทีมวิจัย 3 ฝ่าย คือ ตัวผู้วิจัย แกนนำ
ชุมชนๆ ละ 2 คน และเจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลปริกที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
กลุ่มเป้าหมายจำนวน 40 คน เป็นแกนนำชุมชนจากทุกชุมชน
ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของแกนนำชุมชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน
สามารถเสริมสร้างการเรียนรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ทั้งในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และทักษะในการเป็นผู้นำ
การปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการ มีการจัดทำกิจกรรมและโครงการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่ง
เชื่อมโยงกันดังนี้ 1) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยากรกระบวนการ 2) โครงการรณรงค์คัดแยกขยะ
ในชุมชน 3) กิจกรรมน้ำหมักสารพัดประโยชน์และกิจกรรมผักปลอดสารพิษ และ 4) โครงการคลองสวย น้ำใส
ผลจากกิจกรรมและโครงการ กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการจัดการขยะอย่างถูกวิธี มีความเข้าใจปัญหาในชุมชน
และสามารถวางแผนกิจกรรมต่างๆ อย่างบูรณาการ รวมทั้งมีการขยายผลการเรียนรู้สู่ครัวเรือน ชุมชน โรงเรียน
และองค์กรท้องถิ่น ปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินงานคือ 1) ปัจจัยด้านชุมชน ได้แก่ ทุนทางสังคม การได้รับข้อมูล
ข่าวสารอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการเชิงรุกโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชุมชน 2) ปัจจัยด้านกลไกของรัฐ
ได้แก่ ผู้บริหารเทศบาล นโยบายของเทศบาล และการประสานงาน 3) ปัจจัยสนับสนุนจากองค์กรภายนอก ปัจจัยที่
เป็นอุปสรรคในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของแกนนำชุมชน ได้แก่ ความขัดแย้งในชุมชนอันเนื่องมาจากการ
เลือกตั้ง และภาระหน้าที่ของแกนนำ ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
คำสำคัญ: กระบวนการเรียนรู้, การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน, แกนนำชุมชน, เทศบาลตำบลปริก, สงขลา
|
|
|
|
| | | | | | | |
Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113 *บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา *All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.
© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand จำนวนผู้เยี่ยมชม
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548
|
|