Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 16, No. 5 (2010) open journal systems 


Personality, Emotional Intelligence and Job Satisfaction: Test of a Directional Model
การทดสอบทิศทางโมเดลของบุคลิกภาพ เชาวน์อารมณ์และความพึงพอใจของงาน


Mathana Wae, Department of Psychology and Counseling, College of Arts and Sciences, Universit
Najib Ahmad Marzuki, Department of Psychology and Counseling, College of Arts and Sciences, Universit

มัทนา แว, ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุตรมาเลเซีย
นายิบ อะห์มัด มาร์ซูกี, ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุตรมาเลเซีย


Abstract
A cross - sectional descriptive and causal studies were designed to examine the relationship between personality, emotional intelligence and job satisfaction. Structural equation modeling techniques (SEM) was used to develop a model of personality, emotional intelligence and job satisfaction of Krung Thai Bank employees in three southern border provinces of Thailand. A set of questionnaires consisted of the NEO-Five Factor Personality Inventory by Costa and McCrae (1992), Emotional Intelligence Inventory by the Mental health Department of Thailand (2000) and the Job Descriptive Index (JDI) and Job In General (JIG) by Smith, Kendall and Hulin (1969) were employed. Finding indicated that personality dimensions namely: Neuroticism, Extraversion, and Agreeableness and emotional intelligence aspects of Smart, Good, and Happiness were significantly correlated with job satisfaction of Krung Thai Bank employees. The Generating model is fitted, with Neuroticism dimension of personality, Good and Smart aspects of emotional intelligence were related to Happiness aspect of emotional intelligence and job satisfaction (Chi-Square =91.68, df =86, p = 0.31767, and RMSEA = 0.021). The implications of the results and practice are discussed.

Keywords: emotional intelligence, job satisfaction, personality

บทคัดย่อ
รูปแบบของการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยพรรณนาเชิงสาเหตุ เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ของ บุคลิกภาพ เชาวน์อารมณ์ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของงาน โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model หรือ SEM) เป็นสถิติที่ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาโมเดลของบุคลิกภาพ เชาวน์อารมณ์ และความพึงพอใจ งานของพนักงานธนาคารกรุงไทยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบบุคลิกภาพ NEO-FFI โดย Costa และMcCrae (1992), แบบประเมินเชาวน์อารมณ์ของกรมสุขภาพ จิต ประเทศไทย(2000) และแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน Job Descriptive Index (JDI) และ job In General (JIG) ของ Smith, Kendall และ Hulin (1969) ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะบุคลิกภาพ คือ ด้านความไม่มั่นคง ทางอารมณ์ ด้านการเปิดเผยตัวเอง ด้านความเข้าใจผู้อื่น และเชาวน์อารมณ์ด้าน ดี เก่ง สุข มีความสัมพันธ์กับ ความพึงพอใจงานของพนักงานธนาคารกรุงไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยลักษณะบุคลิกภาพด้านความไม่มั่นคงทางอารมณ์และ เชาวน์อารมณ์ด้านดี เก่ง มีความสัมพันธ์กับเชาวน์อารมณ์ด้านสุขและความพึงพอใจในงาน (Chi-Square =91.68, df = 86, p = 0.31767, และ RMSEA = 0.021) ซึ่งต้องมีการอภิปรายผลและนำผลไปปฏิบัติต่อไป

คำสำคัญ: ความพึงพอใจในงาน, เชาวน์อารมณ์, บุคลิกภาพ


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548