|
การใช้สารสนเทศเพื่อการทำสารนิพนธ์ของนักศึกษา วิทยาลัยอิสลามยะลา Yala Islamic College Students Use of Information for Scholarly Paper Writing
|
นูรีดา จะปะกียา, ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์,คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลั มานพ จิตต์ภูษา, ภาควิชาสังคมศาสตร์,คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สิริพันธ์ รุ่งวิชานิวัฒน์, ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลั
Nureeda Japakeeya, Department of Library and Information Sciences, Faculty of Humanities and Social Manop Chitpoosa, Department of Social Sciences, Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince Siriphan Rungvichaniwat, Department of Library and Information Sciences, Faculty of Humanities and Social |
Abstract
The objectives of this research were to study the use of information, problems and service need of the
students at Yala Islamic College. The data for this survey research were obtained from 145 fourth-year
undergraduates, under a supervised research completion process, of the Islamic Studies Faculty.
Questionnaires were employed for data collection. The research found that 1) Overall, use of information:
1.1) information sources; the students mostly used the service at the Central Library, Office of Academic
Services, Yala Islamic College, Pattani Campus; 1.2) the use of information search tools, most of student
preferred search engine; 1.3) for information resources, the largest number utilized by the students were in
foreign languages; 1.4) for decision of information seeking, the majority of students searched information
by themselves. In comparing the use of information condition, the study concluded that in general, the
variables such as sex, fields of study, experience in library usage learning, and experience in information
seeking was not of significant difference; 2) Problems in information use: 2.1) the biggest problem
concerning information sources was the lack of searching tools; 2.2) for the use of information searching
tools, insufficient computers was the major problem for most students; 2.3) for information resources, the
largest number of students encountered inadequate resources; 2.4) for decision of information seeking, most
students had the problem of self-information seeking. For the comparison the problems on information use,
it generally showed no significant difference; 3) Need for information service: 3.1) information sources;
most of the students needed the subject bibliography collection service; 3.2) use of information search tools,
the majority of students required the handbook of information searching; 3.3) for information sources the
students need for up-to-date resources at the highest level; 3.4) involving the decision of information
seeking, the highest number of students required more librarians with knowledge and skills to assist them
with information seeking. For comparison the need of information services, it generally showed that there
was no significant difference among every variable.
Keywords: information, information seeking, information use, scholarly paper, Yala Islamic College
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้สารสนเทศ ปัญหาการใช้ ตลอดจนความต้องการบริการ
สารสนเทศเพื่อการทำสารนิพนธ์ของนักศึกษา วิทยาลัยอิสลามยะลาโดยศึกษาจากประชากรที่เป็นนักศึกษาระดับ
ปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ที่กำลังทำสารนิพนธ์ของคณะอิสลามศึกษา จำนวน 145 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
คือ แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการใช้สารสนเทศ 1.1) ด้านแหล่งสารสนเทศ นักศึกษาใช้หอสมุดกลาง
สำนักวิทยบริการ วิทยาลัยอิสลามยะลา วิทยาเขตปัตตานี (บ้านโสร่ง) มากที่สุด 1.2) ด้านการใช้เครื่องมือช่วยค้น
สารสนเทศนักศึกษาใช้โปรแกรมค้นหามากที่สุด 1.3) ด้านทรัพยากรสารสนเทศ นักศึกษาใช้หนังสือภาษาต่าง
ประเทศมากที่สุด 1.4) ด้านการตัดสินใจแสวงหาสารสนเทศ นักศึกษาค้นหาสารสนเทศด้วยตนเองมากที่สุด เมื่อ
เปรียบเทียบ พบว่า ความแตกต่างด้านเพศ สาขาวิชา ประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด และ
ประสบการณ์การแสวงหาสารสนเทศโดยรวมไม่แตกต่างกันทุกตัวแปร 2) ปัญหาการใช้สารสนเทศ 2.1) ด้านแหล่ง
สารสนเทศ นักศึกษามีปัญหาแหล่งสารสนเทศไม่มีเครื่องมือช่วยค้นมากที่สุด 2.2) ด้านการใช้เครื่องมือช่วยค้น
สารสนเทศ นักศึกษามีปัญหาเรื่องจำนวนคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอมากที่สุด 2.3) ด้านทรัพยากรสารสนเทศ นัก
ศึกษามีปัญหาเรื่องจำนวนทรัพยากรสารสนเทศไม่เพียงพอกับความต้องการมากที่สุด 2.4) ด้านการตัดสินใจ
แสวงหาสารสนเทศ นักศึกษามีปัญหาด้านการค้นหาสารสนเทศด้วยตนเองมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบ พบว่า
นักศึกษาที่มีปัญหาการใช้โดยรวมไม่แตกต่างกันทุกตัวแปร 3) ความต้องการเกี่ยวกับบริการสารสนเทศ 3.1) ด้านแหล่ง
สารสนเทศ นักศึกษาต้องการรวบรวมบรรณานุกรมเฉพาะเรื่องมากที่สุด 3.2) ด้านการใช้เครื่องมือช่วยค้น
สารสนเทศ นักศึกษาต้องการให้จัดทำคู่มือวิธีการค้นหาสารสนเทศมากที่สุด 3.3) ด้านทรัพยากรสารสนเทศ นักศึกษา
ต้องการสารสนเทศที่มีความทันสมัยมากที่สุด 3.4) ด้านการตัดสินใจแสวงหาสารสนเทศ นักศึกษาต้องการให้จัด
บรรณารักษ์ที่มีความรู้และมีทักษะในการค้นหาสารสนเทศไว้ให้บริการเมื่อเปรียบเทียบ พบว่า นักศึกษามีความ
ต้องการบริการสารสนเทศโดยรวมไม่แตกต่างกันทุกตัวแปร
คำสำคัญ: การใช้สารสนเทศ, การแสวงหาสารสนเทศ, วิทยาลัยอิสลามยะลา, สารนิพนธ์, สารสนเทศ
|
|
|
|
| | | | | | | |
Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113 *บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา *All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.
© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand จำนวนผู้เยี่ยมชม
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548
|
|