|
การสำรวจการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของครูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย A Survey of Respect for Cultural Diversity among Teachers in Three Southern Border Provinces, Thailand
|
บัญญัติ ยงย่วน, สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล จิระพันธ์ เดมะ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อินทิรา หิรัญสาย, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1
Banyat Yongyuan, National Institute for Child and Family Development, Mahidol University Chirapan Day-ma, Faculty of Education, Prince of Songkla University Inthira Hiransai, Prathumthani Educational Service Area Office 1 |
Abstract
This research was aimed to study levels of respect for cultural diversity among the teachers; to
compare the respect for cultural diversity among the teachers according to their differences in sex, religions,
educational levels, school departments and hometowns and to study the relationship between cultural
understanding and respect for cultural diversity among the teachers.
The samples of this research consisted of 792 primary school teachers in Pattani, Yala and Narathiwat
provinces. There were two sets of the questionnaire employed for the study; the first one for investigating
the respect for cultural diversity and another was for measuring cultural understanding. Data analysis was
carried out using percentage, mean, t-test, F-test, and multiple correlation analysis. The results were as
follows: The Muslim teachers respected cultural diversity in both overall and in each aspect of ethnical
issues, languages, religions, traditions and life styles in a moderately high level whereas the Buddhist
teachers respected cultural diversity in both overall and in each aspect of ethnical issues, religions, traditions
and life styles in a moderately high level, with an exception for the respect for language diversity which was
in a moderate level; the teachers in the three southern border provinces who had differences in sex,
religions, levels of their education, school departments and hometowns had significantly statistical
differences in the respect for cultural diversity and the cultural understanding among the teachers in ethnical
issues, languages, traditions, life styles and their overall cultural understanding were positively related with
their respect for cultural diversity.
Keywords: cultural understanding, primary school teachers, respect for cultural diversity, Thailand
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของครูในสามจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ เพื่อเปรียบเทียบการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของครู ตามตัวแปร เพศ ศาสนา ระดับ
การศึกษา สังกัดของโรงเรียน และภูมิลำเนา และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจในวัฒนธรรมกับการ
ยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ในสามจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 792 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจ
การยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรม และแบบวัดความเข้าใจในวัฒนธรรม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ครูไทยมุสลิมยอมรับ
ความหลากหลายวัฒนธรรมด้านชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา ขนบประเพณี วิถีชีวิต และรวมทุกด้าน อยู่ในระดับ
ค่อนข้างสูง ขณะที่ครูไทยพุทธยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมด้านชาติพันธุ์ ศาสนา ขนบประเพณี วิถีชีวิต
และรวมทุกด้าน อยู่ในระดับค่อนข้างสูง แต่การยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมด้านภาษา อยู่ในระดับ
ปานกลาง ครูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความแตกต่างกันด้านเพศ ศาสนา ระดับการศึกษา สังกัดของ
โรงเรียน และภูมิลำเนา มีการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่า
ความเข้าใจในวัฒนธรรมของครู ด้านชาติพันธุ์ ด้านภาษา ด้านขนบประเพณี ด้านวิถีชีวิต และความเข้าใจใน
วัฒนธรรมโดยรวม มีความสัมพันธ์กับ การยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมในทิศทางบวก
คำสำคัญ:คำสำคัญ: การยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรม, ความเข้าใจในวัฒนธรรม, ครูระดับประถมศึกษา, ประเทศไทย
|
|
|
|
| | | | | | | |
Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113 *บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา *All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.
© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand จำนวนผู้เยี่ยมชม
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548
|
|