Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 8, No. 3 (2002) open journal systems 


รูปแบบการบริหารงานวิชาการในเขตพื้นที่การศึกษา สำหรับห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้

สุวิมล เขี้ยวแก้ว, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชิดชนก เชิงเชาว์, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สุรชัย มีชาญ, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เบญจนาฏ ดวงจิโน, สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการบริหารงานวิชาการในเขตพื้นที่การศึกษาสำหรับห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทางการวิจัย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา ผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 140 คน ผู้วิจัยเก็บข้อมูล โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) การระดมสมอง โดยวิธีจัดการประชุมสัมมนา ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการบริหารงานวิชาการในเขตพื้นที่การศึกษา ควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งมีหน้าที่หลักในการกำกับประสานงาน และติดตามประเมินผลให้สถานศึกษา สามารถดำเนินงานได้ตามนโยบายที่กำหนดไว้ โครงสร้างงานเขตพื้นที่การศึกษาแบ่งหน่วยงานหลักเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนโยบายและบริหาร ฝ่ายบุคลากรและงบประมาณและศูนย์วิทยบริการ ทั้งนี้โดยมีคณะอนุกรรมการบริหารงานวิชาการเขตพื้นที่การศึกษา ทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการ ในส่วนของศูนย์วิทยบริการ ประกอบด้วย 5 หน่วยงานย่อย ได้แก่ หน่วยหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร หน่วยถ่ายทอดและเผยแพร่สารสนเทศ หน่วยสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา หน่วยวัดและประเมินผลการศึกษา และหน่วยประกันคุณภาพการศึกษา สำหรับระบบการบริหารควรยึดหลักความเป็นอิสระและความเป็นเอกภาพในท้องถิ่น หลักการกระจายอำนาจ หลักการมีส่วนร่วมและหลักการประกันคุณภาพการศึกษา นอกจากนี้คณะผู้วิจัยเสนอแนะว่าควรมีการนำเสนอรูปแบบดังกล่าวให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบอย่างกว้างขวางที่สุดเพื่อรับฟังข้อมูลย้อนกลับ และควรมีการทดลองใช้รูปแบบดังกล่าวในลักษณะโครงการนำร่อง (Pilot Project) ก่อนที่จะนำไปสู่การปฏิบัติจริง

คำสำคัญ : เขตพื้นที่การศึกษา, จังหวัดชายแดนภาคใต้, รูปแบบการบริหารงานวิชาการ

Abstract
This quantitative research aims to develop a model of academic management for Local Educational Area in five southern border provinces. The informants consist of 140 education experts and stakeholders in five southern border provinces. In-depth interview and brainstorming seminar are employed for data collecting. It has been found that academic management in a Local Educational Area should be under the supervision of the Local Educational Area Board, who is in charge of the supervision, facilitation, coordination, and evaluation of educational institutions. The Local Educational Area structure consists of 3 divisions : Policy and Administration, Personnel and Budget, and Academic Services Center. The Local Educational Area Committee on Academic Management gives policy guidelines for academic management. The Academic Services Canter consists of 5 units : Curriculum and Curriculum Development, Information Transfer and Dissemination, Educational Media and Technology, Educational Measurement and Evaluation, and Educational Quality Assurance. In all academic management, emphasis should be placed on autonomy, unanimity within the communities, decentralization, participation, and quality assurance. However, it is recommended that feedback on this proposed academic management model should be drawn form as many people as possible. In addition, a pilot project of this model should be undertaken before its actual implementation is launched.

Keywords : Local Educational Area, model of academic management, southern border provinces


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548