Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 16, No. 3 (2010) open journal systems 


การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตรเพื่อจำแนกช่วงชั้นโอกาสด้านการทองเที่ยวเชิงนิเวศใน
อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

Application of Geographical Information System to Ecotourism Opportunity Spectrum Zoning in Khanom District Nakhon Si Thammarat Province


อรอนงค์ เฉียบแหลม, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Onanong Cheablam, School of Management, Walailak University


Abstract
This study aimed to classify ecotourism opportunity zones by applying the concept of a Recreation Opportunity Spectrum and to measure visitor experiences at tourism sites in Khanom District, Nakhon Si Thammarat Province. The ecotourism opportunity zones were classified according to a Geographical Information System based on three factors: distance from a main road; size of area; and type of land use. The study of visitor experiences was implemented using survey questionnaires from the tourism sites, each representative of a tourism zone classified by the GIS method. Accidental sampling was employed and an analysis of visitor experiences for each zone was carried out using descriptive statistics to assess means and percentages. From the study it was found that there were five tourism opportunity zones in Khanom District: Semi- Primitive Non-Motorized (SPNM) covering an area of 4.47 Km2; Semi-Primitive Motorized (SPM) covering an area of 61.90 Km2; Roaded Natural-Modified (RN-M) covering an area of 2.50 Km2; Rural (R) covering an area of 238.08 Km2; and Urban (U) covering an area of 4.42 Km2. The ecotourism zone selected for this study covered an area of 68.87 Km2which was 22.12 % of the area of Khanom district. The visitor experiences at tourism sites in the three areas of the representative tourism zone were identified as follows: 1) Islands/Bays in SPM received the experience SPNM; 2) Na-dan beach in R received the experience SPNM; and 3) Paknam beach (Rongfifa beach) in U received the experience SPM. The research found that the visitor experiences were not related to physical characteristics. Hence, strategies and guidelines to control tourism uses and impacts, such as control of facility development on the beach, were needed so that tourism activities would not destroy the resources.

Keywords: ecotourism, Geographical Information System (GIS), Recreation Opportunity Spectrum (ROS)

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกเขตท่องเที่ยวเชิงนิเวศตามหลักการช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ และศึกษาประสบการณ์นันทนาการที่นักท่องเที่ยวได้รับในแต่ละเขตการท่องเที่ยวที่จำแนกตามหลักการช่วงชั้นโอกาส ด้านนันทนาการในพื้นที่อำเภอขนอมจังหวัดนครศรีธรรมราช การจำแนกเขตท่องเที่ยวใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นเครื่องมือ ปัจจัยที่ใช้ในการจำแนก ได้แก่ ระยะห่างจากถนนสายหลัก-รอง ขนาดเนื้อที่ของพื้นที่ธรรมชาติ และ ประเภทของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่วนการศึกษาประสบการณ์นันทนาการของนักท่องเที่ยวทำการศึกษาโดยใช้ แบบสอบถาม ทำการสุ่มแบบบังเอิญ (accidental sampling) แล้วหาค่าเฉลี่ยของประสบการณ์นันทนาการที่นักท่อง เที่ยวได้รับในแหล่งท่องเที่ยว 3 แห่ง ได้แก่ 1) เกาะ/อ่าว 2) หาดหน้าด่าน และ 3)หาดปากน้ำ (หาดโรงไฟฟ้า) ผลการ ศึกษา พบว่า ในอำเภอขนอมจำแนกเขตท่องเที่ยวได้ 5 เขต คือ 1) เขตพื้นที่ธรรมชาติกึ่งสันโดษไม่ใช้ยานยนต์ (SPNM) มีขนาดพื้นที่ 4.47 ตร.กม. 2) เขตพื้นที่ธรรมชาติกึ่งสันโดษใช้ยานยนต์ (SPM) มีขนาดพื้นที่ 61.90 ตร.กม. 3) เขต พื้นที่ธรรมชาติที่มนุษย์สร้างขึ้น/ดัดแปลง (RN-M) มีขนาดพื้นที่ 2.50 ตร.กม. 4) เขตพื้นที่ชนบท (R) มีขนาดพื้นที่ 238.08 ตร.กม. และ 5) เขตพื้นที่เมือง (U) มีขนาดพื้นที่ 4.42 ตร.กม. โดยมีเขตการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 68.87 ตร.กม. คิดเป็นร้อยละ 22.12 ของพื้นที่อำเภอขนอม ส่วนประสบการณ์นันทนาการที่นักท่องเที่ยวได้รับ พบว่าไม่มีความสอด คล้องกับลักษณะทางกายภาพที่จำแนกได้ จากแหล่งท่องเที่ยว 3 แห่ง คือ 1) เกาะ/อ่าว ในเขต SPM ได้รับประสบการณ์ แบบ SPNM 2) หาดหน้าด่าน ในเขต R ได้รับประสบการณ์แบบ SPNM และ 3) หาดปากน้ำ (หาดโรงไฟฟ้า) ในเขต U ได้รับประสบการณ์แบบ SPM ดังนั้นในการจัดการจึงควรมีการควบคุมการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการสร้างสิ่งปลูกสร้างประเภทที่พักบริเวณริมชายหาด และกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ไม่ทำลายทรัพยากรการ ท่องเที่ยว

คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, ช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548