Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 16, No. 2 (2010) open journal systems 


การวิเคราะห์องค์ประกอบในการให้เกรดของครูมัธยมศึกษาจังหวัดภาคใต้
An Analysis of Factors Affecting Secondary Teachers’ Grading Practices in Southern Provinces


ชิดชนก เชิงเชาว์, ภาคประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิธาดา สินประจักษ์ผล, ภาควิชาการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Chidchanok Churngchow, Department of Educational Evaluation and Research, Faculty of Education, Prince
Withada Sinprajukpol, Department of Education, Faculty of Education, Prince of Songkla University


Abstract
The purpose of this study was to analyze factors affecting secondary teachers’ grading practices. The sample consisted of 882 secondary teachers in southern provinces. The research instrument was a 6-point rating scale questionnaire. The findings indicated that there were three factors on instrument and methods which secondary teachers used in classroom measurement and evaluation: 1) completion of assignment, 2) authentic assessment and task performance and 3) assessments through tests. The factors on objectives of secondary teachers’ measurement and evaluation consisted of three aspects in cognitive, affective and psycho-motor domains. The factors affecting secondary teachers’ grading practices were comprised of two components, student attention and effort for task performance; and academic ability in accordance with the evaluation criteria. There were significant differences among teachers of all subjects in using the aspect of academic ability. Grading through student attention and effort for task performance was not significantly different. Based on the findings, the following recommendation was drawn: in grading practices, teachers tend to use both students’ genuine learning ability and student attention and effort for task performance. As a result, the use of student grades other than evaluation of classroom learning achievement should be done cautiously and with a mindful approach.

Keywords: factor Analysis, grading practices, teachers in secondary schools

บทคัดย่อ
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ วิเคราะห์องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการให้เกรดของครูมัธยมศึกษาใน จังหวัดภาคใต้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูมัธยมศึกษาใน 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 882 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 6 ระดับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปัจจัยด้านเครื่องมือและวิธีการ ที่ครูมัธยมศึกษาใช้วัดและประเมินผลในชั้นเรียนประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ การประเมินจากผลงานที่ได้รับ มอบหมาย การให้คะแนนจากการประเมินตามสภาพจริงและการปฏิบัติงาน และการประเมินโดยใช้แบบทดสอบ ปัจจัยด้านจุดประสงค์ในการวัดและประเมินผลของครูมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบ ด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษพิสัย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการให้เกรดของครูมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ ความตั้งใจและความพยายามในการทำงานและความสามารถทางวิชาการ สำหรับผลการเปรียบเทียบองค์ประกอบที่ ส่งผลต่อการให้เกรด โดยจำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ของครูผู้สอน พบว่า ครูในแต่ละกลุ่มสาระวิชาให้เกรดโดย ยึดเกณฑ์องค์ประกอบด้านความสามารถทางวิชาการแตกต่างกัน ส่วนการให้เกรดจากองค์ประกอบด้านความตั้งใจและ ความพยายามในการทำงานของตัวนักเรียนไม่แตกต่างกันข้อเสนอแนะของการวิจัยคือ เนื่องจากการให้เกรดของครู ประเมินจากทั้งความสามารถทางการเรียนที่แท้จริงและความตั้งใจและความพยายามในการทำงานของนักเรียน ดังนั้น การนำเกรดที่ได้ไปใช้นอกเหนือจากการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในชั้นเรียนควรกระทำด้วยความระมัดระวัง และรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง

คำสำคัญ: การให้เกรด, การวิเคราะห์องค์ประกอบ, ครูมัธยมศึกษา


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548