Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 8, No. 2 (2002) open journal systems 


A Study on Child Labor in Deep-sea Fishing and Fish-sorting

Marut Damcha-om, Department of Education, Faculty of Education,Prince of Songkla University


Abstract
The purpose of this study was to investigate the conditions of children working as crew on deep-sea fishing boats, and of fish-sorting girls in Pattani Province with respect to their working and living conditions, earnings and welfare, health care, as well as the opinions concerning child employment of the owners of deep-sea fishing boats and fish-sorting business. The samples of this study were 45 child laborers, accidentally selected from those working on 100 deep-sea fishing boats at the Pattani harbor from August 2000 to January 2001, and 165 fish-sorters, randomly selected from 300 child laborers in fish-sorting business. In collecting the data, a structured interview schedule and the focus-group discussion technique were used. It was found that deep-sea fishing child laborers were nighttime workers, and earned 700-3,000 baht per month without any health insurance of sickness or accident. Likewise, most fish-sorting child laborers were nighttime toilers for 6-13 consecutive hours, craned approximately 1,000-3,000 baht per month without any health insurance for sickness or work hazards, and had to endure bad work environment. It was recommended that all business owners comply with Labor Protection Law. For instance, labor should be registered, and appropriate wages, welfare and work environment should be provided. Government agencies should encourage business owners to comply with Labor Protection Law; Training or other in formative activities should be organized to educate child laborers as well as to improve their quality of life. Keywords : child labor, deep-sea fishing child laborers, fish- sorting child laborers งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานเด็กที่ทำงานเป็นลูกเรือประมงน้ำลึกและเด็กคัดเลือกปลาในจังหวัดปัตตานี ประเด็นหลักที่ศึกษาคือ สภาพการทำงานและความเป็นอยู่ รายได้และสวัสดิการสุขภาพอนามัย และความคิดเห็นของเจ้าของเรือประมงน้ำลึกและเจ้าของธุรกิจคัดปลาต่อการจ้างแรงงานเด็ก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยแรงงานเด็กประมงน้ำลึก จำนวน 45 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบบังเอิญจากเรือประมงที่เข้าเทียบท่า จำนวน 100 ลำ ในช่วงเดือนสิงหาคม 2543 ถึงเดือนมกราคม 2544 และแรงงานเด็กคัดเลือกปลา จำนวน 165 คน จากการสุ่มอย่างง่ายจากแรงงานเด็กคัดปลาทั้งหมด 300 คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการอภิปรายแบบเจาะกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ประกอบข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการอภิปรายแบบเจาะกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าแรงงานเด็กประมงน้ำลึกต้องทำงานในช่วงเวลากลางคืน มีรายได้ระหว่าง 700-3,000 บาทต่อเดือน ไม่มีหลักประกันสุขภาพเมื่อยามเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ แรงงานเด็กคัดปลาส่วนใหญ่ก็ต้องทำงานในช่วงเวลากลางคืนเช่นกัน และต้องทำงานยาวนานติดต่อกัน 6-13 ชั่วโมง มีรายได้ประมาณ 1,000-3,000 บาทต่อเดือน ไม่มีหลักประกันสุขภาพเมื่อยามเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน นอกจากนี้ยังต้องทนสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีในขณะทำงานอีกด้วย ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ประกอบการคือ ควรปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เช่น การจดทะเบียนแรงงานและจัดรายได้ สวัสดิการ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ส่วนหน่วยงานของรัฐนั้นควรสร้างความเข้าใจให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และจัดประสบการณ์ให้แรงงานเด็กมีโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขาต่อไป คำสำคัญ : แรงงานเด็ก, แรงงานเด็กคัดเลือกปลา, แรงงานเด็กประมงน้ำลึก


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548