|
การพัฒนาทักษะอาชีพในด้านอาชีวศึกษาในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย Career Skill Development on Vocational Education in Five Southern Border Provinces for Serving IMT-GT Development (IMT-GT)
|
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ เสริมศักดิ์ นิลวิลัย, วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา อ้อมใจ วงษ์มณฑา, สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Choomsak Intarak, Department of Educational Administration, Faculty of Education Sermsak Nilwilai, Tinsulanon Fishery Collage, Songkla Omjai Wongmontha, Princess Galyani Vadhana Institute of Cultural Studies, Prince of Songkla Univer |
Abstract
This research aimed to study the career skill development on vocational education in five southern border
provinces for supporting IMT-GT Development. Samples consisted of 220 students, teachers, administrators,
and experts involved in career skill development in Vocational Schools. Data were collected through interviews
with administrators and experts, questionnaires distributed to teachers, students, business entrepreneurs and
employees, and seminars of experts. Descriptive statistics such as mean, standard deviation, t-test, and content
analysis were applied for the data analysis. The findings revealed that most of the staff in Vocational Schools
earned Bachelors Degrees. The main offered programs were Industrial Engineering, Auto MechanicsTechnology, Electrical Technology, Accountancy, Marketing, Foods, Clothes Making, Agriculture and Fishery.
There were four categories of activities organized to enhance the students skills: 1) academic activities, 2)
skills and experiences enhancing activities, 3) skills competitions, and 4) income supporting activities. It was
found that the activities, both in the whole and each category, were at moderate levels; however the mean of the
academic activities was found the lowest. Desirable qualifications for the career skills included honesty,
responsibility, self-discipline, human relationships, non-involvement with drugs and immoral acts, creative
thinking, self-confidence, inquiring mind, unity, and patience. The problems found were the policies on economic
development, staff development, curriculum and instruction development, workplaces for students training,
and social, cultural and political conflicts. As for the development guidelines, the samples suggested that
academic activities such as technology application in curriculum and teaching and communicative language
teaching, and the producing of skilled graduates in such programs as Rubber Technology, Fishery, Business
and Marketing, and Tourism Industry which meet the demand of this region should be promoted.
Keywords: career skill development, five southern borber provinces, vocational study, Indonesia-Malaysia-Thailand
Growth Triangle (IMT-GT)
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะอาชีพด้านอาชีวศึกษาในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อ
รองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย (IMT-GT) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษา อาจารย์ ผู้บริหาร
และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษาอาชีวศึกษาจำนวน 220 คน เก็บข้อมูลโดยการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน การ
สัมภาษณ์ผู้บริหาร และผู้ทรงคุณวุฒิ แบบสอบถามจากอาจารย์และนักศึกษา เจ้าของสถานประกอบการและลูกจ้าง และ
การประชุมสัมมนา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิง
เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ของบุคลากรส่วนใหญ่ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร
ที่เปิดสอนส่วนใหญ่เป็นช่างอุตสาหกรรม เช่น ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์ การบัญชี การตลาด อาหาร เสื้อ
ผ้า การเกษตร การประมง กิจกรรมที่จัดเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพในสถานศึกษา ได้แก่ กิจกรรมทางวิชาการ กิจกรรม
ส่งเสริมทักษะประสบการณ์ กิจกรรมยกระดับแข่งขันทักษะและกิจกรรมส่งเสริมรายได้ระหว่างเรียน ทั้งโดยภาพรวม
และรายกิจกรรมปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และกิจกรรมทางวิชาการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับ
ทักษะอาชีพ ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบ ความมีวินัย ความมีมนุษยสัมพันธ์ การละเว้นสิ่งเสพติดและ
อบายมุข ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความสนใจใฝ่รู้ ความรักสามัคคี และความอดทน ปัญหาที่
พบ ได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาหลักสูตรและการสอน การ
จัดหาแหล่งฝึกประสบการณ์และปัญหาทางสังคม การเมืองและวัฒนธรรม สำหรับแนวทางการพัฒนาควรปรับปรุงให้
มีกิจกรรมทางวิชาการ เช่น การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย การสอนภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร การผลิตผู้สำเร็จ
การศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการในภูมิภาคนี้ เช่น เทคโนโลยียาง การประมง ธุรกิจและการตลาดและ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
คำสำคัญ: การพัฒนาทักษะอาชีพ, เขตเศรษฐกิจสามฝ่าย, ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้, อาชีวศึกษา
|
|
|