Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 9, No. 2 (2003) open journal systems 


พลวัตของที่ดินในพื้นที่ทำสวนยางพารา จังหวัดสงขลา

สุจรรยา พงศ์สวรรค์, ศูนย์วิจัยระบบเกษตรทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ฝ่ายวิจัยและบริการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
เชาว์ ยงเฉลิมชัย, ภาควิชาธรณีศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างที่ดินในพื้นที่ทำสวนยางพารา ศึกษาวิวัฒนาการของที่ดินตลอดจนแนวโน้มของการจัดการที่ดินในอนาคต และเพื่อทราบข้อจำกัดของปัจจัยที่ดินในระบบการผลิตยางพารา ทำวิจัยปี พ.ศ.2543 ในอำเภอนาทวีและอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิ พบว่าหลังจากมีการตั้งถิ่นฐานรูปแบบการใช้ที่ดินเปลี่ยนแปลงจากสภาพป่าเป็นพืชไร่เลื่อนลอยหรือไม้ผลพื้นเมือง และเป็นยางพาราในที่สุด ส่วนการใช้ที่ดินในอนาคตเกษตรยังต้องการปลูกยาพารา เกษตรกรมีหัวหน้าครอบครัวเป็นเพศชายร้อยละ 8.5 สถานภาพสมรสร้อยละ 88 การศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาร้อยละ 71 ถิ่นเกิดอยู่ในหมู่บ้านร้อยละ 64 สมาชิกในครอบครัวเฉลี่ยมี 4 คน และมีแรงงานทำการเกษตร 2 คน เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาวสวนยางขนาดเล็กมีพื้นที่เฉลี่ย 20 ไร่ต่อครอบครัว แบ่งเป็นแปลงย่อย ๆ และอยู่กระจัดกระจาย การได้มาของพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่โดยรับมรดก การได้มาโดยซื้อขายได้เพิ่มบทบาทขึ้นเรื่อย ๆ พบว่ามีร้อยละ 29 ของพื้นที่ทำการเกษตร การถือครอบพื้นที่เป็นแบบเจ้าของโดยตรง เอกสารสิทธิ์ที่ดินเปลี่ยนเป็น น.ส.3 และโฉนด มากขึ้นในระยะหลัง อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่มีเอกสารสิทธ์ซึ่งแสดงถึงความมั่นคงในการถือครองที่ดินมีจำนวนน้อย แต่มีพื้นที่การเกษตรมากถึงร้อยละ 53 ไม่มีเอกสารสิทธิ์ การขาดความมั่นคงในการถือครองที่ดิน รวมถึงการมีเกษตรกรไร้ที่ดินทำกินและเกษตรกรประเภทที่มีพื้นที่ทำการเกษตรน้อย เป็นจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้เป็นข้อจำกัดของปัจจัยที่ดินในระบบการผลิตยางพารา

คำสำคัญ : การทำสวนยางพารา, ที่ดิน, พลวัต, สงขลา

Abstract
This research aimed to study the land structures in rubber areas, land evolution and future trends of land management, including understanding the limitations of land factors in the rubber production system. The study was conducted in 2000, in Na Thawi and Chana districts, in Songkhla province, using both secondary and primary data. The study found that after settlement the land use pattern had generally changed from forest area to shifting cultivation or fruit trees and finally to rubber. Most of the farmers indicated a preference for growing rubber trees to other crops in the future. The study showed that eighty-five percent of family leaders were male and eighty-eight percent were married. Seventy-one percent had finished grade 4-7 primary school education and sixty-four percent were born in their village. The average family size was 4 with 2 agricultural laborers. Most had a small household with an average farm size of 3.2 hectares, divided into small dispersed plots. Agricultural land was usually acquired through the family, although recently more has been acquired through purchasing, with twenty-nine percent of current land having been purchased. Land tenure was in the form of ownership. The land ownership documents have been changed increasingly in the last period to the certificates of land utilization (N.S.3) and Title Deeds, however, very few farmers have land ownership security. There is still a large amount of agricultural land, about fifty-three percent of the total, for which there are no legal documents. This lack of land ownership security, the large amount of landlessness, and small size of farm households appear to be the major limitations of land factors in the rubber production system.

Keywords : dynamic, land, rubber production, Sonkhla


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548