Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 9, No. 2 (2003) open journal systems 


การใช้ประโยชน์จากการเก็บหาของป่า และการจัดการป่ากราด อ.นาทวี จ.สงขลา

ประภาพรรณ กำภู, คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เสาวลักษณ์ รุ่งตะวันเรืองศรี, คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการใช้ประโยชน์จากป่ากราดของชุมชนรอบป่าในเชิงเศรษฐกิจและการจัดการ โดยใช้วิธีการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ โดยสุ่มตัวอย่างจำนวน 247 ตัวอย่าง จากจำนวนประชากรรอบพื้นที่ป่ากราดที่เข้าไปเก็บหาของป่าจำนวน 645 ครัวเรือน ผลการศึกษาพบว่าในปี 2543 ผู้ที่เข้าไปเก็บหาของป่าร้อยละ 95.55 เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 30-49 ปี โดยผู้ที่อยู่ใกล้ป่า (ระยะทางน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 กม.) จะเป็นผู้ที่เข้ามาเก็บหาของป่ามากที่สุด ของป่าที่กลุ่มตัวอย่างเข้าไปเก็บหามี 7 ชนิดหลัก ๆ ได้แก่ เนียงนก (ร้อยละ 100) ส้มแขก (ร้อยละ 25.10 ) สะตอ (ร้อยละ 21.86) น้ำผึ้ง (ร้อยละ 4.05) สมุนไพร (ร้อยละ 3.64) หวาย (ร้อยละ 2.83) และหน่อไม้ (ร้อยละ1.21 ) โดยมีปริมาณการเก็บหาคิดเป็นปริมาณรวมทั้งหมดของประชากรดังนี้ เนียงนก 18,002.55 กก. ส้มแขก 4,029.29 กก. สะตอ 66,380.16 ฝัก น้ำผึ้ง 564.05 ขวด สมุนไพร 69.20 กก. หวาย 561.44 เมตร และหน่อไม้ 44.39 กก. คิดเป็นมูลค่าผลประโยชน์สุทธิทางเศรษฐกิจเท่ากับ 675,045.01 บาทต่อปี ในด้านการจัดการ ชาวบ้านตำบลสะท้อนมีการจัดตั้งองค์กรในการดูแลรักษาป่ากราด และมีการกำหนดกฎกติกาในการใช้ประโยชน์จากป่ากราดที่เข้มแข็ง ทำให้ป่ากราดได้รับการดูแลและจัดการที่ดี

คำสำคัญ : การใช้ประโยชน์ของป่า, ป่ากราด, ป่าชุมชน, ผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ

Abstract
This research aims to study the non-timber products utilization of Pa Krad community forest and its economic value. The research was employed using structured questionnaire to collect data. Sample size comprised 247 households of those who utilized Pa Krad from the total population of 645 households. Results showed that in the year 2000, 95.55% of those who gather non-timber products were male whose age were between 30-49 years. Those whose residence were within the distance of 3 km. were found to most utilize the forest. Most used non-timber products were niangnok (100%) somkhaek (25.10%) sator (21.86%) honey (4.05%) medicinal herb (3.64%) rattan (2.83%) and bamboo shoot (1.21%). The total quantity of non-timber products collected, projecting from the total population, are as follows : niangnok 18,002.55 kg., somkhaek 4,029.29 kg., sator 66,380.16 pieces, honey 564.05 bottles, medicinal herb 69.20 kg., rattan 561.44 metre, and bamboo shoot 44.39 kg. The net benefit of the products was 675,045.01 Baht/year. Pa Krad is managed by the local local community people who set up a local organization to protect the forest. There are rules and regulations for using the forest and hence resulting in good conservation and management of Pa Krad.

Keywords : community forest, economic value, Pa Krad, utilization of non-timber products


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548