|
พฤติกรรมการมีวินัยในการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2547-2548 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Learning Disciplinary Behaviors of Undergraduate in 2004-2005 in PSU Faculty of Education
|
ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Phongsri Vanitsuppavong, Department of Educational Administration, Faculty of Education, Prince of Songkl |
Abstract
This study aimed to investigate general learning disciplinary status of undergraduates in the Faculty of
Education, Prince of Songkla University (PSU), to compare learning disciplinary behaviors with gender;
academic year; discipline, curriculum; and GPA, to rank learning disciplinary behavioral needs, and to collect
environment conducive to learning. The research findings indicated that: Most of the undergraduates were from
the three southern border provinces, female, took the University Direct Entrance Examination, and selected
enrolling into the faculty for their first choices . Their academic achievements were good. According to Senges
learning concept, the undergraduates had all five topics of learning disciplinary behaviors in reality. With
different gender, discipline, curriculum, and GPA, the students learning disciplinary behaviors were not
significantly different. However, the students learning disciplinary behaviors, in academic year 2004 and 2005,
were significantly different at the level of .05. Notably, in academic year 2004 the students learning disciplinary
behaviors were lower than the students in 2005. As a matter of fact, the undergraduates in the faculty needed to
develop more learning disciplinary behaviors continuously as follows: personal mastery, systems thinking,
mental models, team learning, and share vision. In addition, their needs to conduct learning conducive were
learning resources both inside and outside the institute, systems thinking skill training, creation and maintenance
of students confidence in teaching professional and positive attitude to teacher-being.
Keywords:
disciplinary behavior, Senges learning concept, undergraduate, PSU faculty of education.
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป และพฤติกรรมการมีวินัยในการเรียนรู้ของนักศึกษา คณะศึกษา
ศาสตร์ เปรียบเทียบพฤติกรรมการมีวินัยตามตัวแปรเพศ ชั้นปี สายวิชา หลักสูตร และเกรดเฉลี่ย จัดลำดับความต้อง
การพัฒนาพฤติกรรมการมีวินัยในการเรียนรู้ รวมทั้งรวบรวมกิจกรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นผู้หญิงเข้าศึกษาด้วยการสอบตรง และเลือก
คณะศึกษาศาสตร์เป็นอันดับแรก มีผลการเรียนส่วนมากอยู่ในระดับดี มีพฤติกรรมการมีวินัยในการเรียนรู้ทั้ง 5 ประเด็น
ตามแนวคิดของเซงกี้ อยู่ในระดับเป็นจริงโดยภาพรวม นักศึกษาที่มีเพศ สายวิชา หลักสูตร และเกรดเฉลี่ยต่างกันมี
พฤติกรรมการมีวินัยในการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน แต่นักศึกษาชั้นปีการศึกษา 2547 และ 2548 มีพฤติกรรมการมีวินัย
ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยนักศึกษาชั้นปีการศึกษา 2547 มีพฤติกรรมการมีวินัยน้อยกว่า
นักศึกษาชั้นปีการศึกษา 2548 นักศึกษามีความต้องการพัฒนาพฤติกรรมการมีวินัยในการเรียนรู้ตามลำดับ คือ
การพัฒนาความรอบรู้แห่งตน การคิดอย่างเป็นระบบ มีแบบแผนความคิด การเรียนรู้ร่วมกัน และการมีวิสัยทัศน์ร่วม
นอกจากนี้ยัง มีความต้องการให้จัดกิจกรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้มากตามลำดับ คือ การจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ทั้งภายใน
และภายนอกคณะ การฝึกทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ปลูกฝังให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อการเป็นครู รักและ
เชื่อมั่นในวิชาชีพครู
คำสำคัญ: การเรียนรู้ตามแนวคิดเซงกี้, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานคิรนทร์, พฤติกรรมการมีวินัย,
นักศึกษา
|
|
|
|
| | | | | | | |
Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113 *บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา *All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.
© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand จำนวนผู้เยี่ยมชม
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548
|
|