Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 15, No. 2 (2009) open journal systems 


ภาวะเครียด ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด และการจัดการความเครียดของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
Stress, Factors Affecting Stress, and Stress Coping of Prince of Songkla University Undergraduate Students, Hat Yai Campus


ภาสกร สวนเรือง, ภาควิชาพัฒนามนุษย์และสังคม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สุจิตรา จรจิตร, ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ช่อลดา พันธุเสนา, ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Passakorn Suanrueang, Department of Human and Social Development, Faculty of Liberal Arts, Prince of S
Sujitra Jorajit, Department of Educational Administration, Faculty of Education, Srinakharinwirot
Chorlada Phantusena, Faculty of Education, Chulalongkorn University


Abstract
The purpose of this study was to examine stress, factors affecting stress and coping undergraduate students of Prince of Songkla University, Hat Yai campus. The sample of four hundreds, first year to fourth year students of academic year of 2006 were investigated. The instruments comprised of Suanprung Stress Test – 20 (SPST – 20), questionnaires covering factors affecting stress and questionnaires covering coping. Data were analyzed by frequency, percentage, and stepwise regression analysis. The results revealed that the majority of undergraduate students had highly stressed. Female students got severe stress more than male students and most of them were the first year of undergraduate students. Among the faculty, the severe stress was found in students belonging to faculty of Science, Engineering and Nursing, respectively. The education factors and personal factors could significantly predict stress for undergraduate students with a coefficient of variation of 38.5% (p < .01).There are four major ways as students preferred for coping, the palliative coping behavior; the emotive coping behavior; the confrontive coping behavior; and the subtractive coping behavior, respectively. The undergraduate students solved problems by themselves first, and consulted their family and friends.Consequently, these data can use to improve the mental health of students and help them live under the stress condition.

Keywords: factors affecting, stress, stress, stress coping, undergraduate student

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะเครียด ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดและการจัดการความเครียด ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 400 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดความเครียดสวนปรุงชุด 20 ข้อ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด และแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการความเครียด วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ใช้สถิติความถดถอยและสหสัมพันธ์เชิงซ้อน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีภาวะ เครียดอยู่ในระดับสูง โดยความเครียดในระดับรุนแรงมีจำนวนนักศึกษาหญิงมากกว่าชายและเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มากที่สุด นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และพยาบาลศาสตร์ มีจำนวนนักศึกษามีความเครียดในระดับ รุนแรง มากเป็น 3 ลำดับแรก ตามลำดับ โดยปัจจัยด้านการเรียนกับปัจจัยส่วนบุคคล สามารถร่วมทำนายภาวะเครียด ของนักศึกษาได้ร้อยละ 38.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านการจัดการความเครียดของนักศึกษาสามารถ จำแนกออกเป็น 4 ด้าน นักศึกษามีการจัดการความเครียดด้านประคับประคองควบคุมปัญหา ด้านจัดการกับอารมณ์ ด้านเผชิญหน้ากับปัญหาและด้านจัดการในเชิงลบ โดยจะแก้ไขปัญหาด้วยตนเองเป็นลำดับแรกและปรึกษาบุคคลใน ครอบครัวและเพื่อน ตามลำดับ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อ พัฒนาสุขภาพจิตของนักศึกษา ให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์ที่บีบคั้น

คำสำคัญ: การจัดการความเครียด, นักศึกษาระดับปริญญาตรี, ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด, ภาวะเครียด


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548