Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 15, No. 2 (2009) open journal systems 


Communication Sources and Channels in Rubber Production Practices of Rubber Smallholders
แหล่งข่าวสารและช่องทางการสื่อสารในการผลิตยางพารา ของเกษตรกรสวนยางขนาดเล็กจังหวัดสงขลา


Apinya Ratanachai, Department of Agricultural Extension and Communication, Prince of Songkla Univer
Jumnongruk Udomsade

อภิญญา รัตนไชย, ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ
จำนงรักษ์ อุดมเศรษฐ์, ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


Abstract
The main objective of the study was to identify the communication sources and channels where rubber smallholders in Changwat Songkhla received the rubber production information. The respondents of 128 households were selected from 7 Tumbons. Data were collected through an interview schedule. Percentage, arithmetic means, chi-square, and Kendall’s tau_b were used for data analysis.It was found that the main information source of the respondents was their neighbors or friends, followed by the Rubber Replanting Aid Fund officers, relatives, and government officials. Major topics obtained from information sources were on fertilization, weed and disease control, planting, and marketing. The preferred communication channels were on more personal method such as home or rubber plantation visit and meeting the government officials in their office. In terms of group method, the respondents obtained information from meetings, training course, and agricultural day. Informations were also received from mass media such as television, printed materials, radio, and newspapers.

Keywords: source, channel, rubber production practice, rubber smallholder

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาแหล่งข่าวสาร ช่องทางการสื่อสาร ในการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการ ผลิตยางพาราของเกษตรกรสวนยางขนาดเล็กในจังหวัดสงขลา โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 128 ครัวเรือนจาก 7 ตำบล เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ไคสแควร์และ Kendall’s tau_b ผลการวิจัยพบว่า แหล่งข่าวสารที่สำคัญคือ เพื่อนหรือเพื่อนบ้าน เจ้าหน้าที่กองทุนสงเคราะห์ การทำสวนยาง ญาติพี่น้องและเจ้าหน้าที่รัฐอื่น ๆ ข่าวสารหลักที่ได้รับจากแหล่งข่าวคือ การใช้ปุ๋ย การควบคุมวัชพืช และโรค การปลูกและการตลาด โดยมีช่องทางการสื่อสารที่สำคัญในแบบต่าง ๆ ดังนี้ แบบรายบุคคลคือ การไป เยี่ยมเยียน ที่บ้านหรือสวนและไปพบเจ้าหน้าที่ที่สำนักงาน แบบกลุ่มคือ การประชุม อบรมและงานวันเกษตร สื่อมวลชนที่สำคัญ คือ โทรทัศน์ เอกสารสิ่งพิมพ์ วิทยุและหนังสือพิมพ์ ตามลำดับ

คำสำคัญ: การผลิตยางพารา, ช่องทาง, สวนยางขนาดเล็ก, แหล่งข่าวสาร


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548