Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 15, No. 1 (2009) open journal systems 


รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้
Development Model of Educational Technology Leadership for School Administrators under the Office of Basic EducationCommission in Southern Thailand


ชวลิต เกิดทิพย์, ภาควิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.
ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, ภาควิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, ภาควิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.
วสันต์ อติศัพท์, ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.

Chawalit Kerdtip, Department of Educational Administration, Faculty of Education, PSU
Phongsri Vanitsuppavong, Department of Educational Administration, PSU
Choomsak Inrak, Department of Educational Administration, PSU
Wasan Atisabda, Department of Educational Technology, Faculty of Education, PSU


Abstract
The objectives of this research were to analyse factors for educational technology leadership of school administrators under the Office of Basic Education Commission (OBEC) in Southern Thailand and to propose a development model of educational technology leadership for school administrators under OBEC in Southern Thailand. The research was divided into two stages. The first stage was an analytical process of finding factors for educational technology leadership of school administrators. The questionnaires were sent to sampling groups who were school administrators in Southern Thailand. Then exploratory factor analysis was conducted. The second stage was the process of model designing. The designing of the model was based on concepts of development model designing, theory of change, theory of constructionism, and adult learning theory in combination of the results of the factor analysis in the first stage. The outcome was the Development Model of Educational Technology Leadership for School Administrators under OBEC in Southern Thailand. The newly created model was then undergone investigation for improvement and completion by a group of nine academic figures in structured interviews and in a separate focus group discussion of seven participants. The research results as follows; 1. Educational technology leadership factors consisted of nine factors: 1) regulations and ethics in educational technology 2) educational technology literacy 3) technology infrastructure management 4) value and realization to organization and society 5) technology intelligence and capabilities 6) personalities 7) technology integration in educational management 8) social background 9) evaluation and supervision. 2. The Development Model of Educational Technology Leadership for School Administrators under OBEC in Southern Thailand consisted of six levels: 1) perception and realization 2) pre-operation evaluation 3) change operation 4) improvement 5) post-operation evaluation 6) stabilization.

Keywords: educational technology, leadership

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในภาคใต้ และเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีการ ศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสพฐ. ในภาคใต้ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นสองระยะ ระยะที่หนึ่งเป็นการวิเคราะห์องค์ ประกอบภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียน สังกัด สพฐ. ในภาคใต้ โดยการส่งแบบสอบถามไปยัง กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริหารโรงเรียน สังกัด สพฐ. ในภาคใต้ แล้วนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และระยะที่สองเป็น การสร้างรูปแบบโดยอาศัยแนวคิดการสร้างรูปแบบ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง ทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา และทฤษฎี การเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่ นำไปผนวกกับผลการวิเคราะห์องค์ประกอบในระยะที่หนึ่ง ได้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทาง เทคโนโลยีการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สพฐ. ในภาคใต้ จากนั้นนำรูปแบบดังกล่าวไปสัมภาษณ์กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และ สนทนากลุ่มกับกลุ่มผู้ปฏิบัติ เพื่อทดสอบและปรับปรุงรูปแบบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบภาวะ ผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียน สังกัด สพฐ. ในภาคใต้ ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กฎระเบียบ และจริยธรรมทางเทคโนโลยีการศึกษา 2) การรู้เทคโนโลยีการศึกษา 3) การจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี 4) ค่า นิยมและจิตสำนึกต่อองค์กรและสังคม 5) ความรู้ความสามารถพิเศษทางเทคโนโลยี 6) บุคลิกภาพ 7) การบูรณาการเทคโนโลยี เข้ากับการจัดการศึกษา 8) ภูมิหลังทางสังคม 9) การประเมินและการนิเทศ 2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทาง เทคโนโลยีการศึกษาสำu3627 .รับผู้บริหารโรงเรียน สังกัด สพฐ. ในภาคใต้ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นรู้และตระหนัก 2) ขั้นประเมินการก่อนดำเนินการ 3) ขั้นดำเนินการเปลี่ยนแปลง 4) ขั้นปรับปรุง 5) ขั้นประเมินหลังดำเนินการ 6) ขั้นคงสภาพ

คำสำคัญ: เทคโนโลยีการศึกษา, ภาวะผู้นำ


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548