Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 9, No. 1 (2003) open journal systems 


“ช้าง” ที่หยัดยืนด้วยเท้า “หลัง” : ผู้หญิงชาวบ้านในวิถีชุมชนที่เปลี่ยนแปลงของภาคใต้

เยาวนิจ กิตติธรกุล, คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้เรียบเรียงจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของผู้เขียน ซึ่งเป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้านแห่งหนึ่งริมทะเลสาบสงขลาในช่วงปี 2540-2541 พบว่า ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมานี้ การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม นโยบายการส่งเสริมการศึกษา การทำสวนยาง ตลอดจนกลไกตลาด ซึ่งหมายรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับหมู่บ้านในแง่การผลิตและการบริโภค ซึ่งล้วนแต่เป็นผลสืบเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่งผลให้ครอบครัวชนบทใช้วิธีการที่แตกต่างกันตามฐานทรัพยากรที่มีอยู่เดิม เพื่อปรับตัวให้สอดคล้องกับเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้การแบ่งชนชั้นทางสังคมในหมู่บ้านยิ่งชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การแบ่งงานกันทำระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย และการจัดการเรื่องเงินในครัวเรือน มิได้แปรเปลี่ยนไปตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้านและครอบครัว เนื่องจากอุดมการณ์เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้หญิงยังคงเน้นย้ำที่ความเป็นแม่ และงานบ้าน ภาระหน้าที่ของผู้หญิงชาวบ้านได้เอื้อประโยชน์อย่างยิ่งต่อครอบครัวและชุมชน จนกล่าวได้ว่า แท้จริงแล้ว ความปกติสุขของครัวครัวและชุมชนหมู่บ้านนั้นอิงอาศัยอยู่บน “เท้าหลัง” ของ “ช้าง” เป็นสำคัญ

คำสำคัญ : การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ, การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม, การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม, ผู้หญิงภาคใต้

Abstract
This paper is derived from a PhD thesis investigating the impacts of environmental, social and economic changes, as a consequence of the development process, on women in different social groups; and the ways in which women have responded to the changes in a village in Southern Thailand. The implementation of development policy at the national level, including the promotion of high-yielding rubber, the educational system, and financial loans have differentially affected households in accordance with their prevailing resources. The maintenance and accumulation of household resources have been dependent upon the levels of their investments in human resources and modernised means of production, as well as market demand and close connections with city. Social differentiation in the village has been reinforced by the interplay of the state and the market. In spite of changes in household resource profiles, women’s loge-standing involvement in household production and reproduction work, as well as the traditional pattern of the wife’s management of family money, has not been significantly transformed. The gender ideologies and women’s social identities as a mother have been reproduced through social mechanisms and in the development process. The women’s work has been significantly contributed to the daily lives of their families and communities. Indeed, it is the “hind legs” of the “elephant” that the livelihoods and well-being of rural families and the community have been relied upon.

Key words : economic changes, environmental changes, social changes, Southern Thailand, women


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548